12-01
หน้าแรก
โรคเอสแอลอี โรคที่เราไม่ควรมองข้าม ตอนที่ 2
โรคเอสแอลอี โรคที่เราไม่ควรมองข้าม ตอนที่ 2

หลังจากเมื่อวานนี้เราได้รับทราบความหมาย กลุ่มเสี่ยง และสาเหตุของการเกิดโรคเอสแอลอี กันไปแล้ว ถ้างั้นอย่ารอช้า…เรามาเรียนรู้กันต่อกับเรื่องของ อาการ วิธีสังเกตอาการ และการรักษาโรคเอสแอลอี กันเลยดีกว่า

อาการและอาการแสดง

เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน โรคเอสแอลอี จึงมีอาการแสดงออกได้หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าภูมิต้านทานที่ผิดปกตินั้นไปต่อต้านหรือเป็นพิษ ต่อเนื้อเยื่อของอวัยวะส่วนใดของร่างกาย อาการอาจมีเพียงบางระบบหรือหลายระบบร่วมกัน มีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ อาการของแต่ละระบบอาจแสดงออกมาในเวลาเดียวกัน หรือเกิดขึ้นในช่วงต่อมาของการดำเนินโรค อาการจึงมีระยะทุเลา ทรุดลง หรือกำเริบได้ตลอดเวลา

ตัวอย่างของอาการบางส่วนที่พบได้

  • อาการทั่วไป มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • อาการทางผิวหนัง มีผื่นเฉพาะโรค เป็นรูปผีเสื้อตั้งแต่สันจมูกไปสู่โหนกแก้มผื่นวงแดงตามใบหน้า หนังศีรษะ และใบหู แผลที่เพดานปากเป็นๆ หายๆ และอาการทางผิวอื่นๆ ที่พบได้บ่อย คือ ผมร่วง ผื่นตามตัวตามเท้าทั่วไปจากการแพ้แสงแดด ปลายมือปลายเท้าซีด
  • อาการทางข้อ จะมีอาการปวดข้อมากกว่าลักษณะอักเสบ มักเป็นที่ข้อ เข่า ข้อนิ้วมือ ข้อที่เหมือนกันทั้งสองข้างคล้ายการอักเสบจากรูมาตอยด์ แต่จะต่างกันตรงที่อาการทางข้อของเอส แอล อี ไม่มีอาการการกัดกร่อนของข้อ

แม้ว่าโรคเอสแอลอี จะมีอาการได้มากมาย แต่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกระบบ ความรุนแรงของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีผื่น มีไข้ บางคนอาจมีอาการปวดข้ออย่างเดียว แต่บางคนมีอาการมากดังกล่าวข้างต้น

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับอาการเฉพาะโรค และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด และเอ็กซ์เรย์ บางรายอาจต้องตัดเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัย

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้ผู้ป่วยแต่ละรายมีความรุนแรงต่างกัน การรักษาจึงแตกต่างกันได้มากมายขึ้นกับอาการที่มี บางรายอาจให้เพียงยาแก้ปวดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการรักษาจะเน้นการควบคุมการกำเริบของโรคให้สงบโดยเร็ว และรักษาต่อเนื่องเพื่อมิให้โรคกำเริบอีก

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้นแพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์ หรือหลายเดือนขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอวัยวะที่มีการอักเสบ บางรายอาจต้องให้ยาอื่นร่วมด้วย เช่น ยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด ยากดภูมิคุ้มกัน บางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดร่วมในการรักษาขึ้นอยุ่กับความรุนแรง และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยเอสแอลอี มีชีวิตยืนยาวขึ้นเพราะมียาปฏิชีวนะ และยาลดความดันโลหิตที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลโรคนี้มากขึ้น

สรุปโรคเอส แอล อี หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง

เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบได้ แม้โรคจะยังรักษาไม่หาย แต่การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การให้ความร่วมมือในการรักษา ความตั้งใจและอดทน จะสามารถควบคุมการกำเริบของโรคได้ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข หากท่านสงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกๆ

 

ข้อมูลจาก
งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
และผศ. นพ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ หน่วยโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5