เส้นเลือดอักเสบในเด็ก
หน้าแรก
โรคเส้นเลือดอักเสบในเด็ก ภาวะที่ต้องระวัง
โรคเส้นเลือดอักเสบในเด็ก ภาวะที่ต้องระวัง

โรคเส้นเลือดอักเสบในเด็ก มักพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว เป็นภาวะที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังและเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อตัวเด็ก

โรคเส้นเลือดอักเสบในเด็ก

มีหลายประเภทด้วยกัน หากเป็นการอักเสบที่เส้นเลือดขนาดใหญ่จะมีความอันตรายมาก เช่น เส้นเลือดที่ออกจากหัวใจ โดยเด็กจะไปพบแพทย์ด้วยอาการความดันโลหิตสูงหรือไม่สามารถคลำชีพจรได้ เนื่องจากเกิดการตีบที่เส้นเลือดหัวใจ แต่ที่พบบ่อยคือเส้นเลือดขนาดเล็กที่ทำให้เด็กมีผื่นขึ้นตามขาและก้น ลักษณะเป็นจ้ำสีแดงและค่อย ๆ คล้ำขึ้นจนเปลี่ยนเป็นสีม่วง และหากผื่นมีขนาดใหญ่เด็กจะรู้สึกเจ็บ ลักษณะของผื่นจากโรคเส้นเลือดอักเสบจะน่ากลัวกว่าผื่นทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด

ระยะเริ่มต้นของผื่นเส้นเลือดอักเสบ

คือมีสีแดงเป็นจ้ำเหมือนยุงกัด แต่ต่อมาจะเริ่มขยายขนาดมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีลักษณะนูน เด็กจะมีอาการเจ็บหรือปวด หากมีผื่นขึ้นที่ข้อเท้าอาจรู้สึกปวดข้อ หรือถ้าหากมีผื่นในระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รวมถึงถ่ายเป็นเลือดได้ ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผื่นที่เกิด

กลไกของโรคเส้นเลือดอักเสบ

เส้นเลือดจะมีอาการบวม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงได้อวัยวะต่าง ๆ ได้ตามปกติ ส่งผลให้อวัยวะเกิดการขาดเลือด เช่น กระเพาะขาดเลือด ทำให้การย่อยอาหารขาดประสิทธิภาพ จึงเกิดอาการปวดท้องขึ้น เป็นต้น กรณีที่เกิดผื่นในตำแหน่งที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร

อาการนำของโรคเส้นเลือดอักเสบ

คือผื่นผิวหนัง แต่มีบางรายอาจรู้สึกปวดข้อก่อนเกิดผื่นซึ่งพบได้น้อย และบางรายมีอาการไตอักเสบนำหรือไตวาย แต่พบได้น้อยมาก ประเทศไทยพบเด็กที่เป็นโรคนี้ประมาณ 20 กว่ารายต่อเด็กจำนวน 100,000 คนและพบมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปัจจัยที่ทำให้เกิด ได้แก่ พันธุกรรมและการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม

หากเด็กเกิดการติดเชื้อและเป็นหวัด ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น โดยปกติภูมิคุ้มกันจะทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่บางกรณีอาจทำลายอย่างอื่นด้วย ซึ่งเป็นการทำลายอวัยวะของตัวผู้ป่วยเอง อย่างเช่นทำลายเส้นเลือด จึงทำให้เกิดโรคเส้นเลือดอักเสบได้ โดยจะเกิดขึ้นหลังจากเป็นไข้หวัดประมาณ 1-3 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษหากลูกเป็นไข้หวัด หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที เพราะการพบแพทย์โดยเร็วจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากกว่าการพบแพทย์ที่ช้าออกไป ปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคคือยาบางชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้ อย่างเช่นยาฆ่าเชื้อชนิดฉีด เป็นต้น

วัยที่พบบ่อย

คือเด็กวัย 5 ปี แต่สามารถพบได้ในช่วงอายุ 2-15 ปี นอกจากนี้ในผู้ใหญ่ก็สามารถพบได้เช่นกัน และถ้าหากผู้ใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดอักเสบจะมีความอันตรายมากกว่าเด็ก เพราะพบไตวายได้มากกว่า

การรักษาโรคเส้นเลือดอักเสบคือ

ต้องดูว่าระดับอาการรุนแรงหรือไม่รุนแรง หากไม่รุนแรงคือมีผื่นขึ้นไม่มาก หรือปวดข้อเล็กน้อย แพทย์จะทำการรักษาอาการปวดข้อโดยการใช้ยาแก้อาการอักเสบของข้อ หากผื่นขึ้นเยอะแพทย์จะให้ยารักษาอาการผื่นหลัก ๆ คือรักษาตามอาการแต่ถ้าหากพบว่าอาการรุนแรง เช่น ปวดท้อง ลำไส้ขาดเลือด ไตอักเสบ ปัสสาวะมีเลือดปน แพทย์จะให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อกดภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ภูมิคุ้มกันมาทำลายเส้นเลือดต่าง ๆ แต่การให้ยากลุ่มนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก

หากให้ยาชนิดกินแล้วยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะเปลี่ยนเป็นยาชนิดฉีด อาจต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

วิธีการป้องกัน

หากเกิดจากพันธุกรรมไม่สามารถป้องกันได้ แต่ถ้าหากเกิดจากการติดเชื้อ ผู้ปกครองเด็กต้องระวังอย่าให้เด็กติดเชื้อหรืออย่าให้เด็กป่วยเป็นไข้หวัด โดยการดูแลสุขอนามัยให้เด็กมีความแข็งแรงอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น รวมถึงเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและรีบนำเด็กพบแพทย์โดยเร็ว หากพบความผิดปกติ

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.ศิริสุชา โศภนคณาภรณ์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Kid D Live l โรคเส้นเลือดอักเสบในเด็ก “ ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

3

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1