heart-disease-in-children
หน้าแรก
โรคหัวใจในเด็กที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
โรคหัวใจในเด็กที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ลิ้นหัวใจเป็นส่วนประกอบของหัวใจที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งมี 4 จุดใหญ่ๆ สามารถตีบและรั่วได้ทั้ง 4 ที่ และอาการที่เกิดจะแตกต่างกันไป

โดยปกติแล้วหัวใจจะมี 4 ห้อง ซึ่งลิ้นหัวใจจะทำหน้าที่คั่นระหว่างห้อง 2 ห้อง

โดยห้องขวาบน-ขวาล่าง จะมีลิ้นหัวใจต่อกัน เช่นเดียวกับซ้ายบน และซ้ายล่าง แต่ทั้งนี้ในเด็กเล็กแล้ว มีโอกาสที่ซ้ายบนกับขวาบนจะเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจแต่เรียกว่าเป็นผนังที่มีโอกาสพังเชื่อมต่อกัน ซึ่งเมื่อเราโตขึ้นเรื่อยๆซัก 1 ขวบ ความดันปอดจะมาดันให้ผนังตัวนี้ปิดไป แต่ลิ้นหัวใจจะไม่ปิด เพราะถ้าปิดเราก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีลิ้นหัวใจอื่นที่ต่อจากขวาล่างไปปอด ซ้ายล่างไปเส้นเลือดใหญ่

นอกจากนี้อาการลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบในแบบอื่นก็มี เช่น

บางคนเจ็บคอหรืออาจเป็นโรคติดเชื้อที่เรียกว่า รูมาติก ซึ่งเจอได้ตั้งแต่เด็กซึ่งมีโอกาสทำให้มีลิ้นหัวใจรั่ว และหัวใจล้มเหลว แต่ในปัจจุบัน พบน้อยลง โดยการรักษาไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป โดยจะสามารถใช้ บอลลูนใส่เข้าไปเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดผ่าน ในกรณีที่ผนังหัวใจตรงนี้ไม่สามารถปิดได้เองตามธรรมชาติ

อาการลิ้นหัวใจรั่วสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ

เลี้ยงไม่โต น้ำหนักตัวน้อย ปอดแฉะ ซึ่งเกิดจากลิ้นหัวใจกั้นได้ไม่ดีพอเลือดก็จะท้นไปเข้าปอด ซึ่งปกติเลือดควรจะปั๊มออกไปสู่ร่างกายตามปกติ แต่ถ้าลิ้นหัวใจไม่สามารถกั้นได้ เลือดก็จะท้นกลับ ปอดแฉะจะมาพร้อมกับอาการเหนื่อย ติดเชื้อบ่อย หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก และบวม เพราะเลือดไปท้นในที่ต่างๆที่ไม่ใช่หัวใจ

แต่บางกรณีอาจจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้แต่กุมารแพทย์ที่ตรวจในช่วงแรกๆที่พาเด็กไปฉีดวัคซีนอาจจะได้ยินความผิดปกติ เช่น เสียง ฟู่ๆ ซึ่งไม่ควรมีในเด็ก ทำให้อาจจะส่งต่อเพื่อตรวจเพิ่มเติม ซึ่งแพทย์จะทำการเอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือเอคโคคาร์ดิโอแกรม หรือเรียกว่าการอัลตร้าซาวน์หัวใจ ผนังหัวใจ ลิ้นหัวใจ ซึ่งไม่เจ็บเพราะทำผ่านผนังหน้าอกและเป็นวิธีแพร่หลายมาขึ้น

วิธีการป้องกัน

ในส่วนของคนที่เป็นมาแต่กำเนิดจะป้องกันได้ยากเพราะแก้ไขไม่ได้ แต่ถ้าโรคลิ้นหัวใจเกี่ยวกับรูมาติก พวกเจ็บคอ คอเป็นหนอง ทอนซิลอักเสบ สามารถกินยาปฏิชีวนะตั้งแต่เนิ่นๆก็จะสามารถป้องกันลิ้นหัวใจรั่วจากรูมาติกได้

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.พรเทพ ตั่นเผ่าพงษ์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update น้องอลินป่วย เตรียมทำบอลลูนหัวใจ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

3

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1