โรคกระเพาะอาหาร
หน้าแรก
โรคกระเพาะอาหาร เป็นได้ง่ายกว่าที่ใครหลายคนคิด
โรคกระเพาะอาหาร เป็นได้ง่ายกว่าที่ใครหลายคนคิด

เมื่อสองสามวันที่ผ่านมาจากกรณีที่ดาราวสาว “เบลล่า ราณี” ถูกหามตัวส่งโรงพยาบาลกระทันหันจากอาการปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง หวิดหมดสติกลางกองถ่าย หลังจากส่งตัวถึงมือแพทย์ก็ได้รับการวินิจฉัยว่าดาราสาวเป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน วันนี้ทางเราจึงถือโอกาสนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารมานำเสนอ เพื่อให้ใครหลายคนรู้จักวิธีการป้องกันที่เหมาะสม

ปัจจุบันเรามักจะพบว่าพฤติกรรมของคนในยุคนี้มีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากมาย รวมถึงโรคกระเพาะอาหารก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนเป็นโดยเฉพาะคนเมืองที่มีแต่ความเร่งรีบ อย่างเช่นดาราสาวที่เพิ่งประสบกับโรคดังกล่าวมาหมาดๆ และรุนแรงถึงขั้นต้องหามส่งโรงพยาบาล โดยโรคดังกล่าวนี้ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างด้วยกัน แต่หลักๆ เลยก็คือพฤติกรรมการทานอาหารที่ส่งผลต่อการเกิดโรคได้มากที่สุด

พฤติกรรมการทานอาหารที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอย่างแรกเลยคือการทานยา

อาหารเสริมหรือเสริมอาหารที่ไม่มีความจำเป็นกับร่างกาย ข้อนี้ถือเป็นลำดับต้นๆ ของการเกิดโรค สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการซื้อยาหรืออาหารเสริมรวมถึงเสริมอาหารต่างๆ ที่ไม่มีข้อบ่งชี้ชัดเจน

พฤติกรรมการทานอาหารต่อมาที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารก็คือการทานอาหารที่ไม่สะอาด

โดยเฉพาะคนในปัจจุบันที่ไม่มีเวลาในการปรุงอาหารด้วยตนเอง อาศัยซื้อทานมากกว่าเพราะสะดวกและตอบโจทย์ชีวิตประจำวันมากกว่า แต่การซื้อทานก็มีความเสี่ยงอยู่มากเช่นกัน เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพ่อค้าแม่ค้าจะปรุงอาหารได้สะอาดมากน้อยแค่ไหน ข้อนี้สามารถป้องกันได้โดยการเลือกทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ และอาจต้องใช้ทักษะส่วนตัวในการพิจารณาเลือกร้านอาหารที่สะอาด มีมาตรฐานการปรุงและการสวมใส่เครื่องแต่งกายของผู้ปรุงอาหารที่รัดกุมป้องกันเชื้อโรคได้อย่างมิดชิด

พฤติกรรมอีกหนึ่งประการที่สำคัญและทำให้เกิดโรคกระเพาะก็คือการทานอาหารไม่ตรงเวลา

พฤติกรรมนี้พบมากในคนยุคนี้ ด้วยเวลาที่เร่งรีบทำให้ละเลยการทานอาหารที่ตรงเวลาหรือทานไม่ครบมื้อ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคในที่สุด สามารถป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรมใหม่และพยายามจัดสรรเวลาชีวิตอย่างมีแบบแผน

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.ศุภมาส เชิญอักษร
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “เกร็ดความรู้ ชุด ภัยคนเมือง ตอน โรคกระเพาะ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

6