18-01
หน้าแรก
โทษและอันตรายจากการใช้สมุนไพร
โทษและอันตรายจากการใช้สมุนไพร

สมุนไพรขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม สมุนไพรก็สามารถให้โทษ และอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ หากไม่รู้จักใช้ หรือใช้ไม่ถูกต้อง

โทษและอันตรายจากการใช้สมุนไพร ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 3 ประการ ดังนี้

1. อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษา เช่น

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่งแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ช่วยได้เพียงการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อน บางคนอาจทานยาจนเบื่อ เลยหยุดทานยา และหันมารักษาด้วยสมุนไพรแทน แต่สมุนไพรหลายชนิดอาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค

นอกจากนี้โรคที่เป็นอาจไม่แสดงอาการชัดทำให้เข้าใจว่า โรคหายแล้ว จึงหยุดการรักษาที่ถูกวิธีไป ซึ่งนานไปโรคเดิมอาจกลับมากำเริบ และส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้

2. อันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง

สมุนไพรหลายชนิดจะมีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรงปะปนอยู่ ถ้าได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษนั้น ๆ เช่น มะเกลือ ผลของมันเมื่อแก่เต็มที่จนมีสีดำ อาจจะมีสาร naphthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง หรือ ยี่โถ เราพบว่า มีพิษอยู่ในใบของมัน หากได้รับสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และอาจหยุดได้

3. อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร

ซึ่งทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อหาสารเจือปนที่จะเป็นอันตรายพบว่า ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของ arsenic 60% และสาร steroids กว่า 30% นอกจากนั้นยังมีสารอันตรายอื่นๆ อีกมากมาย

  • arsenic ถือว่าเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณเชื่อว่าสารนี้มีคุณสมบัติกระตุ้นให้กระชุ่มกระชวย แต่ถ้ารับมากไปอาจจะเกิดพิษได้ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษนี้อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มากขึ้นด้วย
  • steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด หากใช้นาน ๆ จะมีอาการข้างเคียง และอันตรายมาก หากใช้ติดต่อกันนานจะทำให้ติดยา และถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
  • สารปรอท หากมีผสมในสมุนไพร จะทำให้เกิดพิษ มีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ไตวาย เป็นต้น
  • สารตะกั่ว เป็นที่รู้จักกันดี ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น

การใช้สมุนไพรเปรียบเสมือนดาบสองคม สิ่งใดก็ตามที่มีประโยชน์มาก สิ่งนั้นก็อาจมีโทษได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการใช้สมุนไพรก็ควรจะใช้อย่างระมัดระวัง ศึกษาสรรพคุณให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้

 

ข้อมูลจาก
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี


Ramathibodi Poison Center” สมุนไพร

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5