10
หน้าแรก
"เห็ดพิษ" พิสูจน์ไม่ได้ด้วยการวางบนข้าวสุกแล้วข้าวสุกเปลี่ยนสี
"เห็ดพิษ" พิสูจน์ไม่ได้ด้วยการวางบนข้าวสุกแล้วข้าวสุกเปลี่ยนสี

เข้าหน้าฝนอย่างเป็นทางการ พืชผักที่มักจะขึ้นเรียงรายสะดุดตาเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “เห็ด” พืชที่เป็นที่นิยมของคนไทยมานานแสนนาน ด้วยคุณประโยชน์และรสชาติอันแสนอร่อยที่ใครก็ไม่กล้าปฏิเสธ แต่ก็ใช่ว่าเห็ดทุกชนิดจะทานได้ เรามักจะเห็นข่าวอยู่ทุกปีเกี่ยวกับคนที่ทานเห็ดแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจนต้องเข้าโรงพยาบาล

รายงานจากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรควันที่ 1 ม.ค. – 14 พ.ค. 2559 พบผู้ป่วยจากการทานเห็ดพิษแล้ว 65 ราย และยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากการทานเห็ดพิษในปีนี้ แต่ในปี 2558 มีผู้เสียชีวิตจากการทานเห็ดพิษถึง 10 ราย ซึ่งเป็นสถิติที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เห็ดพิษทุกชนิดเมื่อทานเข้าไปแล้วจะเกิดอาการ “คลื่นไส้ อาเจียน” แทบทั้งหมดและไม่สามารถแยกได้ว่า ผู้ป่วยรับสารพิษชนิดใดและจากเห็ดพิษชนิดใดเข้าไป

เห็ดพิษรุนแรงที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิต คือ

เห็ดพิษที่เมื่อเราทานเข้าไปแล้วจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนหลังจากทานไปแล้วประมาณ 5 ชั่วโมง หรืออาจจะแสดงอาการเมื่อทานเข้าไปแล้วหลายวัน ซึ่งแตกต่างจากเห็ดพิษที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งมักจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนเร็วกว่า โดยทั่วไปแล้วมักไม่เกิน 3 ชั่วโมง

การจำแนกเห็ดมีพิษหรือไม่มีพิษด้วยตาเปล่านั้น ในทางวิชาการไม่สามารถยืนยันได้ 100%

และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้สูง รวมถึงการพิสูจน์เห็ดพิษด้วยวิธีจุ่มช้อนเงิน หุงกับข้าวสารแล้วจะเปลี่ยนสี หรือต้มกับต้นหอมแล้วจะเปลี่ยนสี ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้และไม่ควรปักใจเชื่อวิธีการเหล่านี้ ในทางการแพทย์แนะนำว่า หากเราไม่มั่นใจจริงๆ ว่าเห็ดนั้นเป็นเห็ดอะไรก็ไม่ควรทานมันเข้าไป เพราะอันตรายที่เกิดขึ้นอาจจะมีผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ

การช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อพบผู้ป่วยที่ทานเห็ดพิษเข้าไป

ต้องให้ผู้ป่วยพยายามอาเจียนอาหารที่ตกค้างออกมาให้มากที่สุด โดยการล้วงคอหรือกรอกไข่ขาว จากนั้นให้รีบนำส่งผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์โดยทันที

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.วินัย วนานุกูล
หัวหน้าศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “แพทย์เตือนระวังเห็ดพิษหน้าฝน | Rama Update” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

1

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

6

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

4