1024x576 Rama หน้ากากอนามัย
หน้าแรก
เรื่องที่ควรรู้ก่อนใส่ “หน้ากากอนามัย” แบบไหนถึงถูกต้อง
เรื่องที่ควรรู้ก่อนใส่ “หน้ากากอนามัย” แบบไหนถึงถูกต้อง

หลังจากที่มีการประกาศเรื่องโคโรนาไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้ ทำให้หลายคนตื่นตระหนกและมีการกักตุนซื้อหน้ากากอนามัยจำนวนมาก แต่แท้จริงแล้วการป้องกันการติดเชื้อไม่ได้มีแค่หน้ากากอนามัย เพราะการใส่หน้ากากอนามัยไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ต้องประกอบไปด้วยหลายอย่าง เช่น ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน ล้างมือให้สะอาด และอยู่ให้ห่างคนที่ป่วย ทั้งหมดต้องทำควบคู่กัน จึงจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

ผู้ที่ควรใส่หน้ากากอนามัยควรจะผู้ป่วยที่มีน้ำมูก ไอ หรือจาม และคนที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อ เช่น ขับรถแท็กซี่ ทำงานในสนามบิน โรงพยาบาล หรืออยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนมาก ๆ หรือแออัด ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง ไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยโดยไม่จำเป็น เพราะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรจนอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ

นอกจากนี้ในปัจจุบันผู้คนจำนวนมากยังขาดความรู้และความเข้าใจถึงวิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง จนทำให้ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร วันนี้เรามีวิธีการใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องและวิธีป้องกันตัวเองหากต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีหน้ากากอนามัยมาฝาก ดังต่อไปนี้

วิธีใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

  • ทำความสะอาดมือก่อนใส่หน้ากาก
  • หันด้านที่มีสีออกข้างนอก หันด้านสีขาวเข้าตัว
  • จับสายจากด้านข้างแล้วคล้องที่หลังหู
  • กดแกนโลหะด้านบนให้แนบกับหน้า
  • ดึงหน้ากากด้านล่างให้ถึงใต้คาง

วิธีถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

  • ใช้นิ้วเกี่ยวสายคล้องเพื่อทิ้งลงถังขยะ
  • ห้ามสัมผัสหน้ากากโดยตรง
  • หากสัมผัสหน้ากากที่ใช้แล้ว ให้ล้างมือให้สะอาด

ถ้าไม่มีหน้ากากอนามัยทำอย่างไร

  • หาก ไอ จาม ให้ใช้แขนเสื้อหรือผ้าปิดปากแทน ไม่ควรใช้มือเพราะเชื้อโรคจะติดมากับมือ ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อสูง
  • พกแอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์ ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมคือ 70% หรือไม่ต่ำกว่า 50%
  • เช็ดที่จับประตู หรือสิ่งของที่มีคนจับบ่อย ๆ

 

ข้อมูลโดย
ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5