09-01
หน้าแรก
เรื่องของการปวดหัวข้างเดียว
เรื่องของการปวดหัวข้างเดียว

ปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุด ไม่ว่าจะปวดแบบรุนแรงหรือปวดเพียงเล็กน้อยหรือปวดมากที่สุดแบบทุรนทุราย ในบางครั้งอาการปวดศีรษะไม่ว่าจะมีอาการปวดรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็ตาม ต่างก็อาจเป็นสาเหตุที่อาจจะรุนแรงและมีอันตรายได้ในอนาคต

สาเหตุของการปวดศีรษะนั้น มีได้หลากหลายประการเริ่มต้นตั้งแต่

  1. มีความผิดปกติ ในเนื้อสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองโป่งพอง
  2. มีความผิดปกติ นอกเนื้อสมอง เช่น โพรงจมูกอักเสบ, หูอักเสบ, สายตาผิดปกติ
  3. มีความตึงเครียดทางอารมณ์

ส่วนการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการปวด อาการปวดศีรษะที่พบบ่อยและควรทราบเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ

ปวดศีรษะข้างเดียวอย่างการปวดไมเกรน (Headaches, Migraine) ที่จะมีลักษณะเฉพาะคือปวดศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรง มักจะเริ่มปวดรอบ ๆ ลูกตาก่อน (ส่วนน้อยปวดทั้งสองข้างพร้อมกัน) ลักษณะการปวดจะปวดตุบ ๆ แปลบ ๆ เป็นระยะ ๆ

ก่อนเกิดอาการปวดจะมีอาการนำมาก่อนประมาณ 10 – 30 นาที เช่น คลื่นไส้ อาเจียน งุนงง วิงเวียน เห็นภาพซ้อน ตาไวต่อแสง พูดลำบาก (บางครั้งการอาเจียนทำให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น)

สาเหตุการปวดศีรษะแบบไมเกรนนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน

แต่มีการศึกษาพบว่าเกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคืองของเส้นเลือดที่บริเวณหนังศีรษะ ทำให้มีการหดตัวและขยายตัวของเส้นเลือดบริเวณดังกล่าว จึงเกิดอาการปวดศีรษะขึ้น และพบว่า 70 % ของผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนเป็นผู้หญิง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนและการมีประจำเดือน หรือปัจจัยอื่น ๆ กรรมพันธุ์ก็มีความสำคัญมาก การมีประวัติปวดศีรษะในครอบครัว อาหารที่มีสารปรุงแต่งของผงชูรส สารกันบูด อาหารรมควัน ตับไก่ พืชตระกูลส้ม มะนาว ช็อคโกแลต เนยแข็ง ไวน์แดง กลิ่นคาว ๆ แสงจ้า ๆ และเสียงดัง เป็นต้น

ดังนั้นวันนี้เราจึงมีวิธีการหลีกเลี่ยงอาการปวดหัวไมเกรนมานำเสนอกัน ดังนี้

  1. สังเกตเรื่องอาหาร สิ่งแวดล้อม และอารมณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว
  2. เรียนรู้การจัดการความโกรธ และความเครียด
  3. เรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายที่จะช่วยขจัดความรุนแรงของการปวดหัว
  4. กำหนดการรับประทานอาหาร การนอน การออกกำลังกายให้เหมาะสม (เพื่อเกิดความสมดุลของร่างกาย)
  5. หากปวดนานจนผิดปกติ ๆ ควรไปพบแพทย์

 

ข้อมูลจาก
คุณสราญจิตต์ กาญจนาภา
หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพแผนกป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ
โทร.02-201 – 1131
ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4

บทความ เรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อ ต่อมน้ำเหลือง บวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อต่อมน้ำเหลืองบวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
บทความสุขภาพ
04-04-2024

5