Untitled-4-01-01-01-01-01-01-01-01-01
หน้าแรก
เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวเกินผิดปกติหรือไม่?
เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวเกินผิดปกติหรือไม่?

จากข่าวแม่ชาวอเมริกันคลอดลูกที่มีน้ำหนักตัวถึง 6.3 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นน้ำหนักตัวที่มากกว่าเด็กแรกเกิดทั่วไป ได้สร้างความประหลาดใจให้ใครหลายคนอยู่เหมือนกัน ว่าเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวสูงมากกว่าเด็กแรกเกิดทั่วไปนั้นจะมีความผิดปกติหรือไม่ เรามาค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน

โดยทั่วไปเด็กแรกเกิดหลังคลอดจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2.5 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย

และได้มีคำนิยามเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของเด็กแรกเกิดว่าถ้าหากมากกว่า 4 กิโลกรัมนั้นแปลว่าน้ำหนักเกินกว่าปกติ แต่สำหรับข้อสงสัยที่ว่าเป็นความผิดปกติหรือไม่นั้น แพทย์ยืนยันว่าไม่ได้มีความผิดปกติแต่อย่างไร เพียงแต่จะมีผลต่อเรื่องอื่นๆ มากกว่า เช่น ปัญหาน้ำหนักเกินของเด็กเองเมื่อโตขึ้น เป็นต้น

สาเหตุของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักเกินนั้นมีหลายประการ

อย่างแรกคืออาจเป็นเพราะน้ำหนักตัวของคุณแม่เอง หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ก็จะส่งผลให้ลูกนั้นมีน้ำหนักมากตามไปด้วย หรือคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือเป็นมาก่อนหน้านี้ ก็ส่งผลต่อน้ำหนักตัวของลูกเช่นกัน และระยะเวลาในการตั้งครรภ์โดยปกตินั้นจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์  หากมากเกินไปก็มีส่วนทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวที่เกินกว่าเด็กปกติได้ รวมทั้งคุณแม่ที่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง เด็กที่เกิดครั้งหลังๆก็อาจมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับความเสี่ยงของเด็กแรกเกิดที่น้ำหนักตัวเกินนั้น

จะมีปัญหาตอนคลอดอาจทำให้ไหล่ติด เพราะเด็กนั้นตัวใหญ่ซึ่งทำให้คลอดลำบาก และหากเป็นเช่นนั้นอาจทำให้เส้นประสาทของเด็กถูกกระชากได้ หลังคลอดออกมาเด็กอาจมีสภาพแขนขาอ่อนแรง อีกทั้งยังส่งผลต่อการบาดเจ็บที่ช่องคลอดได้ด้วย นอกจากนี้เด็กอาจมีปัญหาภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด เนื่องจากตอนอยู่ในครรภ์ได้รับน้ำตาลผ่านสายสะดือ แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว ในช่วงแรกร่างกายของเด็กจะยังผลิตสิ่งต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ถ้าหากเด็กต้องการน้ำตาลมาก ก็จะทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ ความเสี่ยงที่สำคัญคือปัญหาน้ำหนักตัวเกินของเด็กในตอนโต รวมไปถึงการจัดการกับน้ำตาลที่ผิดปกติในร่างกายของเด็ก อาจทำให้เด็กเป็นเบาหวานได้ด้วย

วิธีป้องกันสำหรับปัญหานี้คือ

คุณแม่ควรฝากครรภ์กับแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจดูอย่างละเอียดในเบื้องต้น จะช่วยให้คุณแม่ได้ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันปัญหา เช่น หากแพทย์พบว่าน้ำหนักตัวเด็กเริ่มมากเกินปกติ อาจบอกให้คุณแม่ดูแลเรื่องอาหารการกินก็จะช่วยป้องกันปัญหาได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในตัวคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานจะได้ดูแลเรื่องอาหารการกินอย่างเป็นพิเศษ

 

ข้อมูลจาก
อ.นพ. ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “แม่มะกันนึกว่าท้องแฝดคลอดออกมาเจ้าหนูหนักกว่า6.3กิโล! : พบหมอรามา ช่วง Rama Update” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

6

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

4

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

4