เครื่องดื่มเพิ่มพุง, ไขมันสะสมที่หน้าท้อง, ไขมันพอกตับ
หน้าแรก
เครื่องดื่มเพิ่มพุง เสี่ยง "ไขมันสะสมหน้าท้อง และ ไขมันพอกตับ"
เครื่องดื่มเพิ่มพุง เสี่ยง "ไขมันสะสมหน้าท้อง และ ไขมันพอกตับ"

     ปัจจุบันเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็น
ชานมไข่มุก น้ำอัดลม กาแฟ นมเปรี้ยว หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าเครื่องดื่มเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความรู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่าเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด
ไขมันสะสมหน้าท้อง หรือ พุง
อันเป็นผลมาจากปริมาณแคลอรีและ น้ำตาล ที่มีอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้ 

“น้ำตาล” สาเหตุที่ก่อให้เกิด ไขมันสะสมหน้าท้อง

     เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานนั้น มีส่วนผสมของ “น้ำตาล” จึงจัดอยู่ในกลุ่มสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่สามารถดูดซึมได้ง่าย เปลี่ยนเป็นไขมันได้อย่างรวดเร็ว และมีการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามาก ซึ่งส่งผลทำให้หิวบ่อย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งทำให้ตับ
มีการสะสมไขมันมากขึ้นหากมีฮอร์โมนอินซูลินที่มากเกินไป ถึงแม้ว่าจะเป็นสารอาหารที่สามารถสร้างพลังงาน
ให้แก่ร่างกาย แต่ร่างกายของทุกคนจะมีปริมาณแคลอรีที่ต้องได้รับต่อวันอย่างจำกัดเช่นกัน 

     ดังนั้นหากมีปริมาณแคลอรีมากเกินไปพลังงานเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นไขมันที่สะสมภายในร่างกายได้ ทั้งบริเวณใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat) และภายในช่องท้องเกาะตามอวัยวะที่สำคัญ (visceral fat) เช่น ตับ ทำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ (NCDs) ตามมาได้มากมาย

สถิติ, ไขมันสะสมที่หน้าท้อง, เครื่องดื่มเพิ่มพุง

     จากผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พบว่าคนไทยรับประทานน้ำตาลมากถึง
25 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำถึง 4 เท่า โดยแนะนำว่าไม่ควร
รับประทานน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

     สอดคล้องกับผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่ อายุ 25 -59 ปี มีการ
รับประทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทุกวันในอัตราส่วนที่สูงกว่าช่วงวัยอื่น โดยรับประทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลบรรจุขวดทุกวัน ร้อยละ 34.2 และ รับประทานเครื่องดื่มชงทุกวัน เช่น ชา กาแฟ น้ำหวาน ชานม เป็นต้น ร้อยละ 58.3

     จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีอัตราการรับประทานเครื่องดื่มที่มีพลังงานและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นพฤติกรรมการรับประทานที่เสี่ยงต่อการทำลายสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง

ประเภทเครื่องดื่ม, เครื่องดื่มเพิ่มพุง, น้ำตาล, ไขมันพอกตับ, ไขมันสะสมหน้าท้อง

ประเภทของเครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อการเกิด ไขมันสะสมหน้าท้อง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

     เครื่องดื่มยอดนิยมไม่ว่าจะเป็น ไวน์ เบียร์ หรือเหล้า ไม่ได้มีฤทธิ์แค่ทำให้มึนเมาเท่านั้น แต่ในตัวของแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มนั้นยังมีพลังงานสะสมอยู่ด้วย ใน 1 กรัมของแอลกอฮอล์ จะให้พลังงานอยู่ที่ 7 แคลอรี ใกล้เคียงกับพลังงานจากไขมัน โดย 1 ดริงก์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า 30 ml, ไวน์ 100 ml, เบียร์ 330 ml) จะมีแอลกอฮอล์ประมาณ 10-14 กรัม และมีคาร์โบไฮเดรต 0, 3, 13 กรัม เทียบเท่ากับปริมาณน้ำตาล 1-3 ช้อนชา ต่อ 1 ดริงก์

     แอลกอฮอล์ เป็นกลุ่มเครื่องดื่มเมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ภายในร่างกาย และก่อให้เกิดไขมันที่หน้าท้อง หรือ พุง ไม่เพียงเท่านั้นยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดไขมันในเส้นเลือดสูง ไขมันพอกตับ ตับแข็งและมะเร็งตับอีกด้วย

เครื่องดื่มชงแบบเย็น

     โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทราย รวมไปถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของฟรุกโตสคอร์นไซรัปและน้ำผึ้ง เช่น กาแฟเย็น ชาเขียวเย็น ชาดำเย็น เป็นต้น ซึ่งเครื่องดื่มเย็นเหล่านี้ ใน 1 แก้ว จะมีน้ำตาลประมาณ 12 ช้อนชา

 เครื่องดื่มสำเร็จรูป

  • น้ำอัดลมหรือน้ำหวาน 1 กระป๋องหรือขวด (325 ml) ปริมาณน้ำตาล 8 – 10 ช้อนชา
  • เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวด (150 ml) ปริมาณน้ำตาล 7 ช้อนชา
  • เครื่องดื่มชง 3 in 1 ปริมาณน้ำตาล 3 ช้อนชา 

เครื่องดื่มประเภทนมเปรี้ยวและนมปรุงแต่งรสชาติ

  • นมเปรี้ยว 1 ขวดเล็ก (80 ml)  ปริมาณน้ำตาล 4 ช้อนชา
  • นมปรุงแต่งรสชาติ 1 กล่อง (225 ml) มีปริมาณน้ำตาล 5 ช้อนชา

ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

     เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอาจช่วยให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลายและทำให้ตื่นตัวมากขึ้นแต่หากรับประทานมากเกินไป
อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายอีกมากมายที่ตามมาในภายหลัง ได้แก่

วิธีการหลีกเลี่ยง, ไขมันสะสมหน้าท้อง, พุง, น้ำตาล, ไขมันพอกตับ

วิธีการหลีกเลี่ยง

     ขั้นที่ 1 ลดความถี่ของการรับประทานเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ต่อ 1 วัน ให้น้อยลงจากปกติ อย่างเช่น 3 แก้วต่อวัน เหลือเพียง 1 แก้วต่อวัน เท่านั้น

     ขั้นที่ 2 ลดความถี่ในการรับประทานต่อ 1 สัปดาห์ จากเดิม 7 วัน อาจต้องปรับเปลี่ยนเป็นวันเว้นวัน และค่อยปรับลดลงเรื่อย ๆ

     ขั้นที่ 3 ลดปริมาณของน้ำตาลที่ใส่ในเครื่องดื่มลง โดยเติมน้ำตาลไม่เกิน 2 ช้อนชาต่อแก้ว ใน 1 วัน ไม่ควรได้รับน้ำตาลที่เติมลงในเครื่องดื่มและอาหารเกิน 6 ช้อนชา

     ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่หลายคนขาดไม่ได้ในแต่ละวัน จำเป็นต้องมีการควบคุมปริมาณของน้ำตาลมากขึ้นเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินที่กำหนด หากมีความต้องการรับประทานเครื่องดื่มเหล่านั้นจึงไม่ควรมีน้ำตาลเกิน 2 ช้อนชา เพื่อลดความเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง และโรคภัยต่าง ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง

 

ข้อมูลจาก
ดร.วนะพร ทองโฉม (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ)
นักสุขศึกษา งานสร้างเสริมสุขภาพ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8