โรคแพนิค ภาวะตื่นตระหนก
หน้าแรก
โรคแพนิค Panic อาการทางจิตที่แสดงออกทางกาย
โรคแพนิค Panic อาการทางจิตที่แสดงออกทางกาย

โรคแพนิค Panic หรือ ภาวะตื่นตระหนก วิตกกังวล ที่มีอาการรุนแรงจะเกิดขึ้นแบบกะทันหัน ทำให้บางคนที่เกิดอาการนี้ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดร่างกายเกิดอาการใจเต้นเร็ว ใจสั่น หายใจไม่สะดวก คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง เหมือนอาการวิตกกังวลทั่วไปแต่จะรุนแรงกว่ามาก หากกปล่อยไว้อาจเกิดอันตรายกับคนรอบข้างและตัวเองได้

อาการ Panic คือ

เป็นโรคทางด้านจิตใจชนิดหนึ่ง ที่มี ภาวะตื่นตระหนก โดยผู้ป่วยจะมีอาการที่เรียกว่า panic attack ประกอบด้วยอาการทางกาย เช่น เหงื่อออก ใจสั่น มือเท้าชา ตัวเย็น คลื่นไส้ มวนท้อง ปวดหัว ปวดตามร่างกายบางคนอาจมีอาการทางด้านอารมณ์ เช่น กลัวว่าตัวเองจะเสียชีวิต หรือเป็นอะไรที่ร้ายแรง

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคแพนิค

คือผู้ป่วยอาจจะมีความวิตกกังวล หรือโรควิตกกังวลอื่นๆ ร่วมด้วย หรือมีลักษณะของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานเร็วหรือไวกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบทางกายหลายๆ อย่าง เช่น ระบบหายใจ อาการมือเท้าเย็น แน่นหน้าอก หรืออัตราการเต้นของหัวใจ

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> โรคแพนิคภัยร้ายทำลายสุขภาพจิต

โรคนี้เป็นโรคทางจิตใจที่แสดงออกมาทางอาการทางกาย ซึ่งจะมีอาการอยู่บ่อย ๆ ร่วมกับผลกระทบต่าง ๆ

เช่น บางคนเฝ้ากังวลเกี่ยวอาการเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา หรือมีผลต่อพฤติกรรมเช่น ไม่กล้าออกไปไหน พบเจอได้ในวัยรุ่นตอนต้นจนถึงผู้ใหญ่ตอนปลาย ซึ่งกลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มคนที่มักจะมีความวิตกกังวล

โรคแพนิค สามารถรักษาได้โดยทั้งการใช้ยา และการปรับพฤติกรรมและความคิด

  • การรักษาโดยยา ก็คือยาที่ใช้ในการรักษาเรื่องวิตกกังวล ร่วมกับยาคลายเครียดที่อาจต้องใช้เมื่อมีอาการรุนแรงจริงๆ
  • การปรับพฤติกรรม จะมีตั้งแต่การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกด้านการหายใจ ฝึกปรับความคิดต่างๆ ซึ่งพบว่าจะช่วยลดอาการลงได้

ในส่วนของวิธีดูแลตัวเองไม่ให้เป็น

แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยพยายามคุมสติเมื่อมีอาการ หรือใช้วิธีการบอกกับตัวเองว่า สิ่งที่เป็นนั้นเกิดมาหลายครั้งแล้วแต่ไม่เกิดอันตรายร้ายแรง ซึ่งหากมีสติและรู้เท่าทันความวิตกกังวล ความกลัวและอาการต่างๆ ได้ ก็ช่วยในการรักษาด้านอื่นๆ ได้ดีขึ้น นอกจากนั้นควรฝึกการหายใจและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ขณะที่คนใกล้ตัวเองก็มีส่วนในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้เยอะ โดยต้องคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจอย่าทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองเป็นตัวปัญหา นอกจากนนี้ โรค Panic นั้นอาจจะมีเรื่องของภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่น ภาวะซึมเศร้า แต่หากคนรอบตัวทำความเข้าอกเข้าใจในตัวผู้ป่วย จะช่วยลดภาวะต่างๆ ลงได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> โรคจิตเวช 5 โรคสำคัญที่คนไทยควรรู้

 

ข้อมูลจาก

อ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์

สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv


คลิกชมคลิปรายการ “อาการ Panic วูบ หน้ามืด ตาลาย ใจสั่นระรัว : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

9