อาการข้อหลุด
หน้าแรก
อาการข้อหลุดกับการดึงข้อให้เข้าที่ด้วยตนเอง ควรทำหรือไม่?
อาการข้อหลุดกับการดึงข้อให้เข้าที่ด้วยตนเอง ควรทำหรือไม่?

อาการข้อหลุด

เป็นอาการที่เกิดจากอุบัติเหตุและส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยอาการนี้มีบางท่านใช้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการดึงข้อส่วนที่กระดูกงอผิดรูปให้เข้าที่ด้วยตนเอง ทำให้กระดูกคืนสภาพสู่ปกติได้สำเร็จ แต่ก็ยังมีคำถามเกิดขึ้นอยู่มากพอสมควรว่าวิธีการดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

สำหรับการปฐมพยาบาลอาการข้อหลุดด้วยวิธีการดึงข้อให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

ทางการแพทย์กล่าวว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือถ้าหากดึงแล้วเกิดผลในทิศทางบวก ช่วยให้กระดูกกลับคืนสภาพได้ ก็จะช่วยให้ผู้ประสบเหตุหายปวดได้เร็ว แต่ขณะเดียวกันข้อเสียก็มีอยู่มาก เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าว่าภายในนั้นมีความผิดปกติอื่นเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น กระดูกหัก เป็นต้น รวมถึงภายในตรงส่วนนั้นอาจเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดหรือเส้นประสาทอยู่ ถ้าหากเป็นเช่นนั้น การดึงข้อให้กลับเข้าที่ด้วยตนเองจะกลายเป็นข้อเสียทันที เพราะอาจทำให้กระดูกเคลื่อนหรือหลุดมากขึ้นในกรณีที่กระดูกหัก ส่งผลให้อาการบาดเจ็บมากขึ้นอีก

โดยปกติแล้วการรักษาทางการแพทย์หากพบว่าคนไข้มีอาการข้อหลุดมา

แพทย์จะไม่ทำการดึงข้อ แต่จะทำการเอ็กซเรย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้วทำการรักษาในครั้งเดียว จึงไม่แนะนำให้ทำการดึงข้อด้วยตนเองในที่เกิดเหตุ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงหากมีอาการอื่นเกิดร่วมด้วย

สำหรับการปฐมพยาบาลในกรณีดังกล่าว

ควรหาวัสดุที่มีอยู่บริเวณใกล้เคียงมาดามอวัยวะที่เกิดอาการบาดเจ็บเอาไว้ เพื่อป้องกันการเคลื่อนของข้อและกระดูก

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.นรเทพ กุลโชติ
สาขาวิชาอุบัติเหตุ
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | ถอดกรณีศึกษาคลิป”หมอเทวดา”รักษาข้อหลุด” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5