HIV
หน้าแรก
อันตรายของเชื้อเอชไอวี ที่ทุกคนควรรู้
อันตรายของเชื้อเอชไอวี ที่ทุกคนควรรู้

พูดเรื่องการติดเชื้อเอชไอวีก็เป็นอีกหนึ่งโรคร้าย ซึ่งมีความอันตรายถึงชีวิต ถึงแม้โรคนี้หลายคนอาจรู้ดีว่าเป็นโรคที่ติดต่อได้ไม่ง่ายนัก แต่สำหรับคนบางกลุ่มก็มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคนี้สูงเช่นกัน ดังนั้นในความรุนแรงของโรคแล้ว แม้ว่าคนที่อาจไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงก็ควรทำความเข้าใจร่วมกัน

เชื้อเอชไอวี

เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีเซลล์เป้าหมายคือเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ชนิดซีดีโฟร์ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค เมื่อร่างกายติดเชื้อเอชไอวีแล้ว จะทำให้มีอาการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะแรกคือติดเชื้อเฉียบพลัน มีอาการคล้ายไข้หวัด และบางคนจะไม่มีอาการเลยก็ได้
  • ระยะที่สองจะเข้าสู่ระยะไม่มีอาการ
  • และมีอาการอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ระยะที่สาม เช่น ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักลด หรือไข้เรื้อรัง และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายมากขึ้น
  • จะเข้าสู่ระยะสุดท้ายเรียกว่าเอดส์ ซึ่งเป็นระยะที่มีจำนวนซีดีโฟร์ต่ำน้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. (ซึ่งในคนทั่วไปมีมากกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม.) และอาจมีเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนได้

สำหรับคนที่รู้ตัวว่าติดเชื้อแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ

การกินยาต้านไวรัสตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่ติดเชื้อจะต้องกินยาต้านไวรัสตลอดชีวิต กินให้ครบและตรงเวลา รวมทั้งไปพบแพทย์ตามนัดอย่าให้ขาด

นอกจากนี้หากมีอาการผิดปกติ อาการแพ้ยา และมีอาการใหม่เกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ และควรทำตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์และสูบบุหรี่ เมื่อร่างกายแข็งแรงจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

ทั้งนี้ยังควรหากิจกรรมคลายเครียดเพื่อผ่อนคลาย ควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ที่มีคนมาก เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีจำนวนซีดีโฟร์ต่ำจะติดเชื้อโรคอื่นได้ง่าย หากมีความจำเป็นก็ควรสวมใส่หน้ากากนามัยเพื่อป้องกัน

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรป้องกันเช่นกัน คือ

การสวมถุงยางป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการจูบกับคนแปลกหน้าหรือคนที่มีแนวโน้มว่าจะมีการติดเชื้ออยู่ ถึงแม้โอกาสติดเชื้อจากการจูบจะน้อยมากก็ตาม หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น สำหรับผู้ติดเชื้อควรป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น คือการสวมถุงยางป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ห้ามบริจาคเลือดและอวัยวะ แต่ยังสามารถรับเลือดจากผู้อื่นได้ตามปกติ ในผู้ติดเชื้อที่เป็นเพศหญิงควรเข้ารับการรักษาก่อนตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เด็กในครรภ์ติดเชื้อได้

สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อแต่สงสัยว่าตนเองจะติดเชื้อหรือไม่นั้น

ควรพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย เพราะยิ่งรู้ผลเร็วก็ยิ่งรักษาได้ดีกว่าการรู้ผลทีหลัง โดยแพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ สามารถทำได้ 2 วิธีคือการตรวจดูภูมิต้านทาน และตรวจเชื้อไวรัสโดยตรง โดยหลังจากที่มีการติดเชื้อภูมิต้านทานจะตรวจพบได้ในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นถ้ามาตรวจก่อน อาจตรวจไม่พบ

ส่วนการตรวจเชื้อไวรัสโดยตรงจะตรวจพบได้ก่อนคือ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่ติดเชื้อ โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจหาภูมิต้านทานในกรณีที่ไม่ได้สงสัยว่ามีการติดเชื้อเฉียบพลัน ถ้าผลออกมาเป็นบวก แพทย์จะมีการตรวจเลือดซ้ำอีกครั้ง แต่ถ้าผลออกมาเป็นลบแล้วยังมีความเสี่ยงอยู่ แพทย์จะตรวจซ้ำอีกทีในอีก 2 สัปดาห์

สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้แก่

ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน ผู้ที่เที่ยวสถานบริการทางเพศแบบไม่ป้องกัน กลุ่มชายรักชาย และผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด แนะนำให้ตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

ข้อมูลจาก
รศ. พญ.ศศิโสภณ เกียรติบูรณกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Health Me Please | การติดเชื้อ HIV ตอนที่ 1” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

6