14053666_1775722175977342_4205662622535894782_o
หน้าแรก
หมอรามาฯ แนะหน้าฝนระวัง "โรคเชื้อราบนผิวหนัง"
หมอรามาฯ แนะหน้าฝนระวัง "โรคเชื้อราบนผิวหนัง"

เชื้อรา สามารถทำให้เกิดโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน เชื้อราในเล็บ เชื้อราที่ผม ฮ่องกงฟุต และโรคผิวหนังอีกมากมาย ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมาจากการสัมผัสเชื้อราโดยตรง สภาพแวดล้อมที่ผิวหนังเผชิญ เช่น ผิวหนังมีบาดแผล ผิวหนังเปื่อยจากความชื้น เป็นต้น

โรคเชื้อราพบได้ทั่วไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1.  ชนิดของเชื้อรา
  2. อุณหภูมิ
  3. ความชื้นของอากาศ
  4. สุขอนามัย
  5. สิ่งแวดล้อม

เชื้อราที่ผิวหนังเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. เชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้น (ชั้นขี้ไคล) ซึ่งพบได้บ่อย เช่น กลาก เกลื้อน
  2. เชื้อราที่ผิวหนังชั้นลึก (ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง)

วิธีสังเกตโรคเชื้อราบนผิวหนัง

  1. โรคกลาก จะเป็นลักษณะเป็นวงขอบเขตชัด โดยที่ขุยหรือสะเก็ดมักจะอยู่ที่ขอบ อาจจะมีขอบแดงได้ ซึ่งสามารถเกิดได้ทั่วตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า
  2. โรคเกลื้อน สีผิวของเราจะเปลี่ยนแปลงเป็นวงๆ สีขาว หรือสีคล้ำ อยู่บริเวณหน้าอกหรือหลัง
  3. เชื้อแคนนิด้า เป็นจุดแดงกระจายๆ พบตามข้อพับต่างๆ รักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม

เชื้อราที่ผิวหนังหากเราปล่อยไว้ก็จะมีอาการผื่นคัน ผู้คนส่วนใหญ่มักจะชอบแกะเกา ซึ่งสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เช่น เชื้อจำพวกแบคทีเรีย ซึ่งอันตรายและสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของเราได้

การรักษาเชื้อราที่ผิวหนังมีทั้งแบบการใช้ยาทา หรือยากิน

แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้เป็นยาทา ยกเว้นในบางกรณี เช่น ติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ผม เล็บ พวกนี้จะต้องใช้ยารับประทาน

การเลี้ยงสัตว์ในบ้านก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเชื้อราเพิ่มมากขึ้น

เพราะตามขนของสัตว์เลี้ยงมักมีเชื้อแบคทีเรียอยู่แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดผื่นบนตัวของสัตว์ เมื่อเราไปสัมผัสคลุกคลีก็สามารถติดเชื้อราได้ รวมถึงเชื้อราจากสัตว์จะทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงมากกว่าคนสู่คนอีกด้วย เพราะฉะนั้นแพทย์จะไม่แนะนำให้เลี้ยงสัตว์ในห้องนอน

การป้องกันโรคเชื้อรา

  1. รักษาสุขภาพอนามัยพื้นฐาน สุขบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพราะเชื้อรามักติดในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  2. รักษาร่างกายไม่ให้เปียก ชื้น ทั้งมือและเท้า รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ ไม่ใช้ร่วมกันผู้อื่น
  3. ไม่คลุกคลีกับผู้ติดเชื้อรา
  4. รักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ใช้ยาที่แพทย์แนะนำอย่างถูกต้อง และมาพบแพทย์สม่ำเสมอ

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.สาลินี โรจน์หิรัญสกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | รู้ทัน โรคเชื้อรา ก่อนลุกลาม” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8