วุ้นในลูกตาเสื่อม_web
หน้าแรก
“วุ้นในลูกตาเสื่อม” เกิดได้ง่ายและอันตรายต่อการมองเห็น
“วุ้นในลูกตาเสื่อม” เกิดได้ง่ายและอันตรายต่อการมองเห็น

โดยปกติแล้วภาวะวุ้นในลูกตาเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันพบว่าภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นกับหนุ่มสาวคนทำงานออฟฟิศมากขึ้น จากพฤติกรรมการใช้หน้าจอมากเกินไป ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม

น้ำวุ้นตาเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของลูกตา

โดยจะอยู่ทางด้านหลังเนื้อเยื่อเลนส์ เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นลูกตาจะเกิดการเสื่อมและกลายเป็นน้ำบางส่วน มักเกิดกับผู้ที่มีอายุมาก 40 ปีหรือ 50 ปีขึ้นไป เว้นแต่ในบางบุคคลที่อาจเกิดภาวะเสื่อมก่อนอายุดังกล่าว ด้วยปัจจัยบางอย่าง เช่น การได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา การผ่าตัดที่กระทำภายในลูกตา หรือในคนที่สายตาสั้นซึ่งจะเกิดการเสื่อมของวุ้นลูกตาได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาจเกิดตั้งแต่อายุ 10 กว่าปีหรือ 20 กว่าปี ยิ่งสั้นมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

ปกติแล้วไม่ทราบแน่ชัดว่าวุ้นลูกตามีหน้าที่อะไร เมื่อเกิดการเสื่อมจึงไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากนัก แต่ถ้าหากเสื่อมมากวุ้นตาจะจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ส่วนที่ใสๆ เกิดเป็นฝ้า เมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จะเกิดเป็นเงาตกไปที่จอประสาทตา และเกิดเป็นจุดดำข้างใน หากวุ้นตากลายเป็นน้ำจุดดำจะลอยไปลอยมา และมักเห็นในที่ที่สว่างมากๆ หรือเมื่อมีแสงเข้ามาเยอะๆ จนทำให้เกิดเงาขึ้น แต่ในที่มืดจะมองไม่เห็นจุดดำที่ว่าเพราะไม่เกิดเงาที่จอประสาทตา บางครั้งอาจเกิดการดึงจอประสาทตา ทำให้เหมือนมีแสงแวบขึ้นมาคล้ายแฟลช และมักเห็นในที่มืด ปัญหาคืออาจทำให้เกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ ทำให้น้ำที่เกิดจากการเสื่อมของวุ้นไหลผ่านเข้าไปทางรอยฉีกขาด ทำให้จอประสาทตาลอก และส่วนที่ลอกจะเกิดการมองไม่เห็น คนไข้จะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาบังตาไว้ และส่วนที่มองไม่เห็นนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับการรักษาหากเป็นเพียงวุ้นในลูกตาเสื่อม

แพทย์จะไม่ได้ทำการรักษาเพราะถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าหากเกิดการฉีกของจอประสาทตา แพทย์จะทำการป้องกันไม่ให้เกิดการหลุดลอก โดยการทำให้เกิดเป็นแผลเป็น ใช้วิธีการยิงเลเซอร์ หากยังไม่สามารถมองเห็นได้ง่ายๆ อาจใช้ความเย็นจี้ร่วมด้วย และถ้าหากเกิดการหลุดลอกของจอประสาทตาไปแล้ว จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษา

โดยทั่วไปมักเกิดกับคนอายุมากตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แต่ในบางรายอาจมีปัจจัยมากระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าวได้เร็วขึ้น ได้แก่ การได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา การรับการผ่าตัดที่กระทำภายในดวงตา หรือในคนที่มีปัญหาสายตาสั้นซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ยิ่งสั้นมากยิ่งเสี่ยงมาก โดยเฉพาะผู้ที่สายตาสั้นตั้งแต่ 600 ขึ้นไป ส่วนการเพ่งที่หน้าจอนานๆ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด ว่าทำให้เกิดการเสื่อมของวุ้นลูกตา แต่ในขณะเพ่งอาจทำให้เกิดการสั้นของสายตาแบบชั่วคราว เมื่อเลิกใช้หน้าจอหรือเลิกเพ่งแล้วพักให้เต็มที่ก็จะกลับสู่ภาวะปกติและไม่มีผลต่อวุ้นในลูกตา แต่ถ้าหากเพ่งนานติดต่อกันอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตา เคืองตา หรือปวดตา

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.กิติกุล ลีละวงศ์
สาขาวิชาน้ำวุ้นตาและจอประสาทตา ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““วุ้นในลูกตาเสื่อม”โรคอันตรายของคนใกล้จอ : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5