03
หน้าแรก
"ยาลดน้ำหนัก" อันตรายอย่างไรและเหมาะกับใคร?
"ยาลดน้ำหนัก" อันตรายอย่างไรและเหมาะกับใคร?

 

อ.พญ.ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ยาลดน้ำหนัก” นั้นมีอยู่จริงและถูกใช้ในทางการแพทย์ แต่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะถือเป็นยาที่ “มีผลข้างเคียงอันตราย” รวมถึงต้องเลือกคนไข้ที่จะใช้ยาเหล่านี้ให้ถูกต้องด้วย

ยาชุดหรืออาหารเสริมที่ขายตามสื่ออินเตอร์เน็ตต่างๆ หรือคลินิกที่ไม่ได้รับการรับรอง อาจจะมีการใช้ยาที่เป็นอันตราย มีส่วนผสมของยาหลายๆ ตัว ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายของเราอย่างแน่นอน อาจทำให้ยาที่ใช้เกิดการตีกันในร่างกาย เหตุผลที่ผู้ขายมีการใช้ยาผสมหลายๆ ตัว ก็เพราะต้องการให้ยามีประสิทธิภาพเห็นผลรวดเร็ว น้ำหนักลดได้รวดเร็ว แต่ผู้ผลิตหรือผู้ขายเองไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา

สารที่เรามักพบในยาลดน้ำหนักและมีอันตรายได้แก่

  1. “ไซบูทรามีน” จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น มีฤทธิ์ในการลดความอยากอาหาร ซึ่งถูกเพิกถอนออกไปแล้ว เนื่องจากมีการวิจัยชัดเจนว่า เมื่อใช้ยาตัวนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น
  2. “ยาในกลุ่มแอมเฟตามีน” เช่น เฟนเทอร์มีน ออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มทำให้เกิดการเบื่ออาหาร อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้
  3. “ยาระบาย บิสซาโคดิลและยาขับปัสสาวะ ฟูโรซีไมด์” เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าและอาการในกลุ่มวิตกกังวลช่วยทำให้ไม่อยากอาหาร ผลข้างเคียงคือร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่

โดยทั่วไปแล้วยาลดน้ำหนักมีไว้ใช้สำหรับคนที่เป็น “โรคอ้วน”

ซึ่งการใช้ยามักจะใช้ในผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 ขึ้นไป หรือเกิน 27 แต่มีโรคความดัน โรคเบาหวาน หรือหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เป็นต้น รวมถึงต้องวินิจฉัยว่าคนไข้มีการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายแล้วแต่ “ไม่ได้ผล” จึงจะสามารถใช้ยาเหล่านี้ได้ ไม่ใช่ว่าอยากจะลดแล้วสามารถใช้ยาได้เลย ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ทุกครั้ง

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.ประพิมพ์พร ฉัตรานุกูลชัย
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

9