Untitled-3-01-01-01-01-01-01-01
หน้าแรก
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน โรคอันตรายเป็นได้ทุกวัย
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน โรคอันตรายเป็นได้ทุกวัย

จากข่าวของหญิงสาวรายหนึ่งที่มีผื่นขึ้นเต็มขา ซึ่งคิดว่าเป็นเพียงผื่นธรรมดาแต่เมื่อแพทย์วินิจฉัยออกมากลับพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ซึ่งถือเป็นโรคที่ร้ายแรงมากอีกชนิดหนึ่ง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินนั้นเป็นอย่างไรมาค้นหาคำตอบกัน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin’s lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (Hodgkin’s disease)

เป็นมะเร็งชนิดที่เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในระบบน้ำเหลืองของร่างกาย และสามารถแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ

โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กินนี้พบได้ประมาณ 12% ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด แต่จะพบได้น้อยมากในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และพบมากในช่วงอายุ 15-35 ปี และอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป เด็กผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิงประมาณ 3 เท่า ส่วนวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่จะมีโอกาสเกิดโรคในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า

ปัจจัยที่ทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน ดังนี้

  1. อายุ ยิ่งอายุเยอะโอกาสที่จะเป็นก็เพิ่มมากขึ้น
  2. เพศ ผู้ชายจะเป็นมากกว่าผู้หญิง
  3. การติดเชื้อ เช่น HIV
  4. การติดเชื้อไวรัส EBV
  5. ภาวะภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง เช่น โรคพุ่มพวง
  6. หากมีพี่น้องหรือญาติที่เป็นโรคนี้ก็จะมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้

โดยอาการที่อาจจะบ่งชี้ว่าเราเป็นมะเร็งชนิดนี้หรือไม่นั้น ได้แก่

  1. มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีสาเหตุ
  2. เหงื่อออกชุ่มตัวตอนกลางคืน โดยไม่มีสาเหตุ
  3. เบื่ออาหารน้ำหนักลดตั้งแต่ 10 % ขึ้นไปในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่มา
  4. อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาการที่ไม่อาจทำให้คนส่วนใหญ่นึกโยงไปถึงมะเร็งมากนัก เนื่องจากเป็นอาการที่ไม่จำเพาะที่ใครก็สามารถเป็นได้

ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน

  • ระยะที่ 1 มีต่อมน้ำเหลืองโตเพียงกลุ่มเดียวที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ที่คอด้านขวาที่เดียว
  • ระยะที่ 2 มีต่อมน้ำเหลืองโต 2 กลุ่ม หรือมากกว่า แต่ต้องเป็นในกลุ่มต่อมน้ำเหลืองที่อยู่เหนือหรือใต้กระบังลมเหมือนกัน เช่น ที่คอและรักแร้ ซึ่งอยู่เหนือกระบังลม
  • ระยะที่ 3 มีต่อมน้ำเหลืองโต 2 กลุ่ม หรือมากกว่าทั้งที่อยู่เหนือและอยู่ใต้กระบังลม เช่น ที่คอ ร่วมกับที่ขาหนีบ
  • ระยะที่ 4 ระยะที่โรคแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะอื่นๆ เช่น ไขกระดูก ตับ ปอด และสมอง

ขณะที่แนวทางการรักษานั้นมีอยู่หลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับระยะของโรค อายุ และสภาพของบุคคลว่าพร้อมหรือไม่

โดยการรักษาจะมี 3 วิธีการคือ

  1. ทำคีโม
  2. ฉายรังสี
  3. ปลูกถ่ายไขกระดูก

 

ข้อมูลจาก
ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “สาวช็อกผื่นขึ้นเต็มขาพบเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง : พบหมอรามา ช่วง Rama Update” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

5

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

3

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

3