cover info
หน้าแรก
ลักษณะเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก ที่แพทย์อยากบอก
ลักษณะเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก ที่แพทย์อยากบอก

ปัญหาสุดปวดใจของเหล่าคู่รักที่อยากมีลูก มีลูกสักคนยากจัง ไม่ว่าจะทำอย่างไงก็ไม่มี ต้องลองหันกลับมาดูสังเกตพฤติกรรมของตัวเองบ้างแล้วล่ะ ว่ามีพฤติกรรมไหนเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยากบ้าง วันนี้รามาแชนแนลจะพาทุกคนมาสังเกตพฤติกรรมตัวเองว่ามีพฤติกรรมและปัญหาเหล่านี้หรือเปล่า ถ้ารู้แล้วก็รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองด้วยล่ะ

อายุที่มากขึ้น

มีผลต่อการมีบุตรยากโดยตรงขอแบ่งออกเป็นผู้ชาย และผู้หญิง
– ผู้หญิง หากอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสตั้งครรภ์ลดลง เนื่องจากคุณภาพและปริมาณของไข่ลดลงไปเรื่อย ๆ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม
– ผู้ชาย เมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ฮอร์โมนเพศชาย การมีกิจกรรมทางเพศ และปริมาณน้ำเชื้ออสุจิมีคุณภาพลดลง

 การมีน้ำหนักตัวเกิน

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าน้ำหนักตัวมีผลต่อการมีลูกยากด้วย ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อเมตร2 ทำให้ฮอร์โมนจากต่อมสมองส่วนหน้า ที่ทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานขัดข้อง
– ผู้หญิง มักจะสัมพันธ์กับภาวะไข่ไม่ตก ถุงน้ำรังไข่หลายใบ ทำให้ฮอร์โมนเพศชายมากขึ้นในเพศหญิง
– ผู้ชาย จะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้น ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การมีโรคประจำตัวบางชนิด

สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว แล้วต้องกินยาบางชนิดไป อาจมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของฮอร์โมนสืบพันธุ์ ทำให้ผู้หญิงไข่ไม่ตก โดยเฉพาะผู้ชาย จะทำให้คุณภาพและปริมาณของตัวอสุจิลดลง ยาบางชนิดมีผลลดอารมณ์ทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศและการหลั่งน้ำอสุจิได้

การสูบบุหรี่

เมื่อสารนิโคตินของบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย จะไปเพิ่มสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ส่งผลต่อคุณภาพของไข่ในผู้หญิง คุณภาพและปริมาณอสุจิจะลดลงในผู้ชาย

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป

การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การดูดซึมวิตามิน แร่ธาตุลดลง ส่งผลให้ปริมาณอสุจิที่แข็งแรงลดลง และยังทำให้ปริมาณของอสุจิลดลงด้วย

การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน

ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกิน 300 มิลลิกรัม หรือเทียบง่าย ๆ คือกาแฟ 3 แก้วนั้นเอง ก็จะทำให้อัตราการมีบุตรยากสูงขึ้น

การรับประทานอาหารในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม

พบว่าการกินอาหารขยะ (junk food) อาหารหวาน อาหารที่มีน้ำมันเยอะ บริโภคผักผลไม้น้อย ก็จะส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์ลดลงด้วย

การไม่ออกกำลังกาย

แม้ฝุ่นจะเยอะออกกำลังกายนอกบ้านไม่ได้ ก็สามารถออกกำลังกายในบ้านได้ หากไม่ออกกำลังกายการเผาผลาญพวกแป้งและไขมันจะแย่ลงซึ่งสัมพันธ์กับภาวะอ้วนด้วย

มีความเครียด

อาจส่งผลไปถึงการนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะทำมีผลไปถึงการตั้งครรภ์ แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุได้แน่ชัดถึงความสามารถในการสืบพันธุ์

การมีคู่นอนหลายคน

นอกจากมีลูกยากแล้ว ยังเสี่ยงในการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หลายชนิด และการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคมะเร็งปากมดลูก โรคบางชนิดอาจเกิดภาวะหนองใน หนองในเทียม ทำให้มีบุตรยาก หรือเป็นหมั่นถาวร

ภาวะปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ

และภาวะตกขาวในผู้หญิง ควรได้รับการตรวจประเมินเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุบางชนิด สัมพันธ์กับการมีบุตรยาก

ปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย และปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิ

เป็นปัญหาที่ฝ่ายชายมักจะเขินอายในการปรึกษาแพทย์ แต่เป็นภาวะที่รักษาได้ โดยมีการรักษาหลากหลายรูปแบบเพื่อการมีบุตร

หากคู่รักใดมีปัญหาการมีลูกยากไม่ต้องกังวลใจ เพราะปัจจุบันความก้าวหน้าเทคโนโลยีการแพทย์มีหลายวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูก แต่พฤติกรรมดังกล่าวก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยนะ เพราะไม่ได้แค่ส่งต่อแค่การมีลูกยาก แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมด้วย

 

 

ข้อมูลโดย
. พญ.อาทิตยา สิงห์วงษา
สาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5