เสี่ยงโรคภาวะกระดูกพรุน-01
หน้าแรก
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเสี่ยงโรคภาวะกระดูกพรุน
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเสี่ยงโรคภาวะกระดูกพรุน

“กระดูก” อวัยวะสำคัญที่เป็นโครงสร้างยึดเกาะกล้ามเนื้อให้เรามีรูปร่างร่างกายที่เป็นปกติ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกระดูกของเรามีภาวะบางลงจากการสูญเสียมวลกระดูก จนทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนหรือภาวะกระดูกพรุน ส่งผลให้เราต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนรุนแรงจนเกิดการแตกหัก หรือในผู้ป่วยบางคนอาจจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังและรุนแรงจนถึงขั้นพิการได้

ภาวะกระดูกพรุน

มักเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ในช่วงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง กระดูกข้อสะโพกและข้อมือ ทำให้เกิดปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหวร่างกายตามมา

อาการของภาวะกระดูกพรุนจะไม่แสดงอย่างชัดเจนจนกว่าจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้กระดูกหักเกิดขึ้น

อาการที่พอจะสังเกตได้คือ

ปวดหลังแต่ตำแหน่งไม่ชัดเจน อาจปวดร้าวไปข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกหลังยุบตัว อาการหลังค่อม ความสูงลดลง เป็นต้น

อีกกลุ่มหนึ่งคือ คนที่มีประวัติครอบครัวคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคกระดูกพรุน ประวัติกระดูกหักโดยเฉพาะข้อสะโพกหรือกระดูกสันหลัง คนที่ไม่ออกกำลังกาย คนที่ลดน้ำหนักจนร่างกายซูบผอมทำให้เกลือแร่ในร่างกายลดลง การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ก็มีส่วนเช่นกันที่จะทำให้เกิดโรคภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยช่วยตรวจหามวลกระดูกในร่างกายได้เป็นอย่างดี

ด้วยเครื่อง Dexa Scan แพทย์จะตรวจส่วนของกระดูกสันหลังและกระดูกข้อสะโพกดูปริมาณมวลกระดูก ผลที่จะได้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมวลกระดูกของคนทั่วๆ ไป ถ้าเรามีภาวะมวลกระดูกที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วๆ ไปที่น้อยกว่า -2.5 ก็จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคภาวะกระดูกพรุน

การรักษาโรคภาวะกระดูกพรุนมี 2 แบบ คือ

  1. ผู้ป่วยที่ยังไม่มีการหักของข้อกระดูกสะโพก แพทย์จะให้รับประทานแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอ มีกิจกรรมออกกำลังกายที่เจอแสงแดดในตอนเช้าๆ สัปดาห์ละ 2-3 วัน ครั้งละ 10-15 นาที เพื่อสร้างวิตามินดี แต่หากผู้สูงอายุที่ออกไปเจอแสงแดดไม่ได้ แพทย์ก็จะให้ทานวิตามินดี เพิ่ม
  2. ผู้ป่วยที่มีการหักของข้อกระดูกสะโพกแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ดีก็ยังต้องรักษาโรคภาวะกระดูกพรุน รวมถึงป้องกันภาวะข้อสะโพกอีกข้างหนึ่งไม่ให้หัก ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การป้องกันคือ

ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ดื่มนมตั้งแต่อายุน้อยๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกระทบกระทั่ง การยกของหนัก การหกล้ม  ตรวจมวลกระดูกประจำปี ก็จะสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนนี้ได้

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ศิวดล วงค์ศักดิ์
ภาควิชาออโธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update คนไทยเสี่ยงภาวะกระดูกพรุนมากขึ้น” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4

บทความ เรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อ ต่อมน้ำเหลือง บวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อต่อมน้ำเหลืองบวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
บทความสุขภาพ
04-04-2024

4

บทความ เรื่อง ริดสีดวงทวาร เกิดจาก เส้นเลือดดำบริเวณ ทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก
ริดสีดวงทวาร เกิดจากเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก
บทความสุขภาพ
03-04-2024

7