05-01
หน้าแรก
ผมหงอก ยิ่งถอนยิ่งหงอกจริงหรือ
ผมหงอก ยิ่งถอนยิ่งหงอกจริงหรือ

เส้นผมของคนเรานั้นประกอบไปด้วย เส้นผม เซลล์สร้างเนื้อผม เซลล์สร้างเม็ดสี ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ป้อนเม็ดสีเข้าไปในเนื้อผม ทำให้เส้นผมไม่เกิดสีขาว เนื่องจากสาเหตุที่ผมมีสีขาวหรือที่เรียกกันว่า ผมหงอก ในทางการแพทย์ให้คำอธิบายกับเรื่องนี้ว่า เกิดจากเม็ดสีเมลานินของเส้นผมทำงานลดลงหรือหยุดทำงาน จึงทำให้ผมเป็นสีขาว หยาบ และดูไม่เป็นประกาย สาเหตุเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ รวมถึงความเครียด การดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่นั้น ทำให้ผมหงอกไวขึ้นด้วย

นอกจากนี้สาเหตุของผมหงอก ก็สามารถเกิดจากโรคบางโรคได้ เช่น

ผมร่วงเป็นหย่อม หรือโรคด่างขาว โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย โรคเรื้อรังที่ส่งผลทำให้เกิดความเครียดต่อร่างกาย ส่วนผมหงอกที่กลับมาดำได้นั้น เป็นผมหงอกที่เกิดจากโรคภายในร่างกาย ถ้ารักษาโรคหายแล้ว ผมก็จะกลับมาดำได้

โรคที่ทำให้เกิดผมหงอก ได้แก่

โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคต่อมไทรอยด์ โรคด่างขาว รวมทั้งการบาดเจ็บและโรคของระบบประสาท ผมร่วงเป็นหย่อม การล้มป่วยบางอย่าง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้หวัดใหญ่

ส่วนอายุที่เริ่มมีผมหงอกขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์

ในชาวต่างชาติที่มีผิวขาว ผมจะเริ่มหงอกครั้งแรกตั้งแต่อายุ 24-44 ปี ในคนผิวสีจะเริ่มหงอกเมื่ออายุ 34-54 ปี ส่วนชาวเอเชีย จะเริ่มมีผมหงอกตั้งแต่อายุ 30-40 ปี ผมที่เริ่มหงอกตามวัยนี้ไม่สามารถกลับมาดำได้อีก  ส่วนผมที่หงอกก่อนวัย จะเริ่มหงอกก่อนอายุ 20 ปีในคนผิวดำ ส่วนคนเอเชียผมจะเริ่มหงอกก่อนอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นเรื่องตามธรรมชาติ

ส่วนประเด็นที่ว่ายิ่งถอนผมหงอก ผมหงอกก็จะยิ่งขึ้นนั้น อธิบายได้ว่า “ไม่เป็นความจริง” เพราะการขาดสารอาหารบางตัว เช่น

วิตามินบี 12 อาจทำให้มีผมหงอกได้ ในบางกรณีความเครียดอาจทำให้ผมหงอกได้เช่นกัน ซึ่งบางคนเชื่อว่า ความเครียดทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี ถ้ากินวิตามินบีขนาดสูง อาจทำให้ผมหงอกกลับดำได้ การกินยาบางตัว เช่น คลอโรควิน อาจทำให้คนที่มีผมสีอ่อนหรือผมน้ำตาลแดงกลายเป็นสีขาวได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผมหงอก ไม่สามารถรักษาได้ ทำได้เพียงเล็มออกหรือย้อมสีผมเพื่อปกปิดผมหงอกเท่านั้น

 

ข้อมูลจาก
อาจารย์ นายแพทย์พูลเกียรติ สุชนวณิช
หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ” ผมขาวก่อนวัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5