12-01
หน้าแรก
ป้องกัน "โรคท้องร่วง" ในช่วงหน้าร้อนนี้อย่างไรดี ?
ป้องกัน "โรคท้องร่วง" ในช่วงหน้าร้อนนี้อย่างไรดี ?

หากใครเคยเป็นโรคท้องร่วง จะเข้าใจดีว่ามันทรมาณ ไม่มีเรี่ยวมีแรง ขนาดไหน ดังนั้นเรามาเรียนรู้วิธีป้องกันโรคนี้กันไว้ก่อนดีกว่า อาจจะมองเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ทุกปีมีคนเสียชีวิตเพราะโรคนี้กันพอสมควรเลยทีเดียว

นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ทำให้หลายพื้นที่ขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาดประกอบกับอุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี

ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่ประชาชนจะป่วยด้วยโรคที่มากับภัยแล้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วง มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ค้างคืน มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำไม่สะอาดหรือมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอุจจาระร่วง

จากข้อมูลล่าสุดของสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 203,531 ราย จากทั่วประเทศ เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 15-24 ปี (11.24%) รองลงมา มากกว่า 65 ปี(11.08 %) และ 25-34 ปี (9.64 %) ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ มหาสารคาม สมุทรสงคราม พิจิตร แม่ฮ่องสอน และ ภูเก็ต

ทั้งนี้ โรคอุจจาระร่วง เกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกวัย สาเหตุเกิดได้ทั้งจาก

เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโปรโตซัว ปรสิต หนอนพยาธิ และเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลววันละ 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้ กระหายน้ำกว่าปกติ มีไข้สูง

สำหรับการดูแลผู้ที่ป่วย

  • หากเป็นเด็ก ให้เด็กรับประทานอาหารเหลวบ่อยๆ
  • หากเป็นผู้สูงอายุ ให้รับประทานอาหารตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ควรดื่มน้ำเกลือแร่แทนน้ำเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ

แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ยังถ่ายบ่อย อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ มีไข้สูง ให้รีบไปพบแพทย์

ส่วนการป้องกันโรค

ขอให้ผู้ประกอบการอาหาร และประชาชนทั่วไป ปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อนทั่วถึง และสะอาด ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง หลีกเลี่ยงการใช้มีด เขียง หั่นอาหารดิบและอาหารสุกแล้วร่วมกัน และหมั่นดูแลรักษาครัวให้สะอาดอยู่เสมอ และขอให้ประชาชนยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” โดยรับประทานอาหารเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ ด้วยความร้อนและสะอาด

รวมทั้งอาหารทะเลก็ขอให้ปรุงสุกเช่นกัน หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ ส่วนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หมู ไก่ และไข่ ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง นอกจากนี้ควรเพิ่มความระมัดระวังไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงเอง อาหารสั่งซื้อ อาหารถุง อาหารกล่อง ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และควรรับประทานภายใน 2- 4 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ

 

ข้อมูลจาก
นพ.อำนวย กาจีนะ
อธิบดีกรมควบคุมโรค


ที่มา” ระวังโรคท้องร่วง ช่วงหน้าร้อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Infographic
05-04-2024

6