ทดสอบย
หน้าแรก
ทดลองกินอาหารเพื่อทดสอบอาการแพ้ อันตรายกว่าที่คิด
ทดลองกินอาหารเพื่อทดสอบอาการแพ้ อันตรายกว่าที่คิด

ในเรื่องของการแพ้อาหาร ยังมีคนส่วนหนึ่งใช้วิธีการทดลองกินเพื่อทดสอบอาการแพ้อยู่ โดยหารู้ไม่ว่าวิธีดังกล่าวอันตรายกว่าที่ใครหลายคนคิด วันนี้เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้อาหารมาฝากเพื่อทำการศึกษาร่วมกัน

โดยปกติแล้วอาการแพ้อาหารสามารถรับรู้ได้ด้วยการกิน ซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานในการทดสอบอาหารแพ้ แต่ถ้าหากเคยมีอาการแพ้ต่ออาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่แล้ว ไม่ควรกินซ้ำอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากอาการแพ้ในแต่ละคนไม่เท่ากัน บางรายมีอาการแพ้เพียงเล็กน้อย แต่บางรายอาจมีอาการแพ้รุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

นอกเหนือจากการกินแล้ว ก็ยังมีวิธีอื่นๆ อีกเพื่อทดสอบอาการแพ้อาหาร ได้แก่ การตรวจเลือด เพื่อดูระดับสารภูมิคุ้มกันต่ออาหารชนิดนั้นๆ หรือการตรวจทางผิวหนัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการตรวจรูปแบบนี้อาจเป็นเพียงหลักฐานประกอบการวินิจฉัยเท่านั้น ช่วยพยากรณ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรการกินก็ยังเป็นวิธีการตรวจที่มาตรฐานที่สุด ถ้าหากในกรณีที่เคยมีอาการแพ้รุนแรงหรือมีความทรงจำที่ไม่ดีเกี่ยวกับการแพ้ การตรวจด้วยวิธีนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะถ้าหากลองกินอาหารเพื่อทดสอบอาการแพ้ด้วยตนเองโดยไม่มีแพทย์ดูแลอาจมีอาการแพ้รุนแรงจนช็อคและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุของการแพ้อาหาร

ปัจจัยหลักคือพันธุกรรม หากพบว่าครอบครัวไหนมีสมาชิกที่มีอาการแพ้อาหาร เด็กที่เกิดมาในครอบครัวนั้นมีความเสี่ยงอยู่ที่จะแพ้อาหารชนิดเดียวกันกับคนในครอบครัว ซึ่งอาการแพ้อาหารยังทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ด้วย เช่น แพ้อากาศ หอบหืด ลมพิษ ผื่นผิวหนัง เป็นต้น ในเด็กที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อสร้างภูมิต้านทาน ช่วยป้องกันอาการแพ้อาหารในเด็กได้ในระดับหนึ่งหรือไม่ทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้นไปจนถึงโรคภูมิแพ้ในทางเดินหายใจ

อาการแพ้อาหารที่พบบ่อยคือ

การเกิดผื่นหรือเป็นลมพิษ อาจเป็นที่ใบหน้าหรือตามตัว ระดับการเกิดมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หากเกิดในระบบทางเดินหายใจ อาการแสดงคือหายใจลำบาก หากเกิดในระบบทางเดินอาหาร อาการแสดงคืออาเจียน ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น

ระยะเวลาในการเกิดอาการแพ้หลังร่างกายได้รับสาร

เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับบุคคลและระดับอาการ หากมีอาการแพ้รุนแรงจะเกิดภายในระยะเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็ว โดยอาการแพ้จะแสดงผลได้ตั้งแต่ระยะเวลาเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง แต่ส่วนมากจะเกิดภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง

อาการแพ้อาหารนอกจากจะเกิดกับคนที่เป็นแต่กำเนิดแล้ว ยังพบว่าบางรายมีอาการแพ้อาหารชนิดหนึ่งตอนโต ซึ่งในตอนเด็กๆ ไม่เคยแพ้อาการชนิดนั้นมาก่อน สาเหตุเป็นเพราะก่อนเกิดอาการแพ้เคยกินสิ่งนั้นมา แล้วไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิแพ้ ที่เราเรียกว่า IgE ร่างกายจะรับรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา เพื่อรับเข้าไปในปริมาณมากจนถึงวันหนึ่งก็สามารถแสดงอาการแพ้ออกมาได้

อาการแพ้อาหารถือเป็นหนึ่งในอาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร แต่บางอย่างที่ร่างกายแสดงออกว่าไม่พึงประสงค์กับอาหารก็อาจไม่ใช่อาการแพ้อาหาร เช่น ในคนอายุ 32 ปี ดื่มนมทีไรก็มีอาการท้องเสียทุกที อาจเป็นเพราะร่างกายไม่ค่อยดื่มนม เมื่อดื่มเข้าไปแล้วเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยน้ำตาลแลคโทสมีปริมาณน้อยลงจนไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ จึงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวไม่ใช่อาการแพ้อาหาร แนะนำว่าถ้าหากเกิดอาการแบบนี้ทุกครั้งที่ดื่มนม ให้ดื่มทีละน้อยในภายหลัง ก็จะไม่ทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหนึ่งอาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร นั่นก็คือการได้รับสารพิษในอาหาร ที่ทำให้ร่างกายมีความผิดปกติ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหารแต่อย่างใด

อาการที่ไม่พึงประสงค์จากอาหาร (Adverse food reaction : AFR)

  • เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย
    • IgE mediated reaction เช่น อาการแพ้ไข่ นม แป้งสาลี อาหารทะเล มักจะเกิดเร็วหลังรับประทานอาหาร
    • Non IgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดช้า
  • Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
    • Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือได้รับพิษจากปลา เช่น ผู้ป่วยไม่สามารถย่อยแลคโทส เพราะขาดเอนไซม์แลคเทส (lactose intolerances)

ในคนที่อาการแพ้อาหารวิธีการป้องกันการเกิดอาการแพ้คือ

หลีกเลี่ยงการกินอาหารชนิดนั้นๆ ไปเลย หากมั่นใจแล้วว่าร่างกายแพ้อาหารชนิดนั้นอย่างแน่นอน ในบางรายพบว่ายังฝืนกินอาหารที่ตัวเองแพ้และใช้ยาแก้แพ้เป็นตัวช่วยอยู่ นั่นเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม เพราะมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่อาการแพ้รุนแรงได้ ในกรณีที่ยาแก้แพ้ออกฤทธิ์ได้ไม่ทันการ และถึงแม้การแสดงอาการแพ้ที่ผ่านมาจะไม่รุนแรง แต่ในภายหลังก็มีโอกาสที่ร่างกายอาจแพ้รุนแรงและมีอันตรายถึงชีวิตได้

สุดท้ายนี้ฝากไว้สำหรับเด็กที่กำลังจะเกิดใหม่และมีความเสี่ยง คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหรือมากกว่านั้น ยิ่งให้นมแม่แก่เด็กนานเท่าไร ยิ่งเป็นผลดีมากเท่านั้น เพื่อป้องกันอาการแพ้ไม่ให้รุนแรงขึ้นหรือนำไปสู่โรคภูมิแพ้ในทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นโรคที่รักษาได้ยาก และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเด็กในระยะยาว

ที่สำคัญในอาหารเสริมที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น นม ไข่ แป้งสาลี อาหารทะเล เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงไปก่อนที่จะให้เด็กกิน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างภูมิแพ้ขึ้น และทำให้เกิดอาการแพ้อาหารเหล่านั้นในอนาคต หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคภูมิแพ้

 

ข้อมูลจาก
รศ. พญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย
สาขาวิชาโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา l Big Story l การกินเพื่อทดสอบการแพ้อาหารก่อให้เกิดอันตราย” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8