03-01
หน้าแรก
ตัดมดลูกออก ช่วยลดการปวดประจำเดือนได้ จริงหรือไม่ ?
ตัดมดลูกออก ช่วยลดการปวดประจำเดือนได้ จริงหรือไม่ ?

หากการปวดประจำเดือนเป็นการปวดที่อยู่ในระดับปกติ การที่เราตัดมดลูกออกนั้นดูจะมากเกินความจำเป็นและอาจจะทำให้ไม่หายปวด ในกรณีที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่อาจจะเป็นที่ รังไข่ หรือ อุ้งเชิงกราน เมื่อตัดมดลูกออกก็จะไม่หายปวด ในทางกลับกันหากมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ไปอยู่ที่กล้ามเนื้อของมดลูก เมื่อทำการตัดมดลูกออกก็จะช่วยเรื่องอาการปวดประจำเดือนได้

ดังนั้น ความเชื่อเรื่องการตัดมดลูกออก จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้จริงหรือไม่นั้น ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดมากกว่า

นอกจากนี้แล้ว เมื่อทำการตัดมดลูกออก จะส่งผลต่อการมีบุตรในอนาคตได้ เนื่องจากว่ามดลูกทำหน้าที่ คือ ช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ ส่วนเรื่องฮอร์โมนจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย เนื่องจากรังไข่จะเป็นตัวสร้างฮอร์โมนนั่นเอง

 

ข้อมูลจาก
ผศ. ดร. พญ.อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข
หน่วยต่อมไร้ท่อนรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama” ผู้หญิงเทรนด์ใหม่ใส่ใจสุขภาพ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

1

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

7

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

4