14372428_1785525964996963_1479922587708953592_o
หน้าแรก
ดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดช่องปาก ป้องกัน "นิ่วน้ำลาย"
ดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดช่องปาก ป้องกัน "นิ่วน้ำลาย"

“น้ำลาย” เป็นของเหลวใสในช่องปาก พบได้ทั้งในคนและในสัตว์ ซึ่งในคนมีการสร้างและหลั่งน้ำลายวันละประมาณ 1-1.5 ลิตร ส่วนใหญ่ได้จากต่อมน้ำลายหลัก 3 คู่ คือ ต่อมน้ำลายใต้หู ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น ส่วนน้อยมาจากต่อมเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ในเยื่อบุช่องปากและคอหอย

น้ำลายมีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ

ย่อยอาหารและปกป้องอันตรายที่อาจเกิดภายในปาก ในน้ำลายมีเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส ช่วยย่อยอาหารคาร์โบไฮเดรต มีไบคาร์บอเนตอิออน (HCO3-) ทำหน้าที่สะเทินสภาพกรดจากอาหารและแบคทีเรีย จึงช่วยป้องกันฟันผุ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วน้ำลาย ได้แก่

ภาวะขาดน้ำ การใช้ยาบางชนิด (ในกลุ่มยาต้านฮีสตามีน ยาลดความดันโลหิต ยาทางจิตเวช และยาควมคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ) ตลอดจนการกระทบกระแทกหรือการบาดเจ็บของต่อมน้ำลายก็มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วน้ำลายด้วย

เมื่อมีนิ่วในต่อมน้ำลายหรือท่อน้ำลาย หรือทั้งคู่ จะเกิดท่อน้ำลายอุดตัน ทำให้น้ำลายไหลเปิดสู่ช่องปากไม่ได้ ซึ่งพบนิ่วของต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรมากที่สุดในจำนวนต่อมน้ำลายหลักทั้งสามคู่นี้

ผู้ป่วยมักจะมาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการของท่อน้ำลายอุดตัน คือ

มีอาการบวมใต้คาง เป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะเวลาที่จะกินอาหาร เนื่องจากน้ำลายที่ถูกสร้างไม่สามารถไหลออกมาได้ อาจมีอาการปวดร่วมด้วยเมื่อมีการคั่งของน้ำลายมากๆ รวมทั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนเมื่อมีการติดเชื้อ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบผนังท่อน้ำลาย และกลายเป็นฝีได

นิ่วในทางเดินน้ำลาย สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้

โดยการดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน กรณีมีปัญหา ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก อย่าปล่อยไว้

 

ข้อมูลจาก
รศ. ดร.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ
ภาควิชาสรีรวิทยา
คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล


บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน” นิ่วน้ำลาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

6