วีนเหวี่ยง
หน้าแรก
ชอบวีนเหวี่ยงเข้าข่าย "โรคบุคลิกภาพแปรปรวน"
ชอบวีนเหวี่ยงเข้าข่าย "โรคบุคลิกภาพแปรปรวน"

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอกับคนที่ชอบวีน ชอบเหวี่ยง ใช้อารมณ์แบบไม่มีเหตุผล โดยไม่สนใจว่าใครจะรู้สึกยังไงกับการกระทำของตนเอง โรคบุคลิกภาพแปรปรวน (Personality Disorders)  เป็นเรื่องของบุคลิกภาพ นิสัยใจคอของบุคคลนั้น โรคทางบุคลิกภาพที่เป็นการสั่งสมมาอย่างยาวนาน อาจเป็นมาตั้งแต่เด็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้นอาจแสดงออกได้รุนแรงมากยิ่งขึ้น

อาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน

จะมีลักษณะที่ไม่สามารถจัดการกับความคิดของตนเองได้ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ หรือไม่สามารถควบคุมสติให้อยู่ในระดับปกติได้ เมื่อมีสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต อารมณ์และจิตใจ จะกระทบต่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เกิดปัญหา อาจส่งผลต่อตนเองและผู้อื่น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

  • กลุ่มแรก จะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อคนอื่น ลักษณะอาการคือเป็นคนที่ค่อนข้างแปลก มีวิธีคิดที่แตกต่างจากคนทั่วไป ขี้ระแวง ชอบคิดไปว่าคนอื่นจะคิดกับตัวเองอย่างไร หรือมีความกังวล บางคนมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ คิดแปลกและยึดติด เมื่อคนอื่นอธิบายสิ่งที่ขัดค้านกับความคิดตนเองจะไม่รับฟัง กลุ่มนี้จะไม่รบกวนผู้อื่น เว้นแต่ว่าหากต้องร่วมงานกับผู้อื่น และด้วยความคิดที่แปลกก็อาจทำให้ผู้ร่วมงานทำงานได้ยาก
  • กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่มีการใช้อารมณ์รุนแรง ขี้วีน ขี้หเวี่ยง มีการแสดงออกทางอารมณ์มาก กลุ่มนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เพราะหลายครั้งมีการด่าทอด้วยถ้อยคำรุนแรง ทำให้ผู้อื่นเสียใจ หดหู่ หรือสูญเสียความมั่นใจ เป็นต้น
  • กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มของคนที่มีภาวะวิตกกังกวล ย้ำคิดย้ำทำ ไม่กล้าเข้าหาคนอื่น คิดว่าทำแบบนี้จะดีหรือไม่ คนอื่นจะมองว่าไม่ดีหรือเปล่า วิตกกังวลมากเกินไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของตนเอง แต่จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้อื่น

แต่โรคบุคลิกภาพแปรปรวนมักถูกใช้สับสนกับโรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพล่า ซึ่งมีภาวะ “อารมณ์แปรปรวน” ความแตกต่างของทั้งสองโรคนี้คือ

โรคบุคลิกภาพแปรปรวน เป็นเรื่องของบุคลิก นิสัย ใจคอ ที่ถูกปลูกฝังหรือสั่งสมมาตั้งแต่เด็ก ไม่เหมือนกับอารมณ์แปรปรวนที่เป็นเรื่องของอารมณ์ ซึ่งมาจากการทำงานผิดปกติของสมอง แต่โรคบุคลิกภาพแปรปรวน เกิดจากการเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมรอบตัว ฯลฯ

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นนิสัยและบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ทำให้การรักษาต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เพราะอาจต้องปรับเปลี่ยนนิสัยของบุคคลนั้นไปเลย ปัจจัยเกิดจากตัวบุคคล ได้แก่ ยีนส์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

บางครั้งอาจใช้ยาเพื่อควบคุมอารมณ์ไม่ให้เกรี้ยวกราดมากเกินไป ถ้าหากเกิดร่วมกันกับโรคหลงตัวเอง คนกลุ่มนี้เวลาโดนตำหนิจะสูญเสียความมั่นใจไปเลย และอาจมีอารมณ์หดหู่มากกว่าคนทั่วไป การใช้ยาก็จะช่วยรักษาสมดุลของภาวะอารมณ์ได้ดีขึ้น

วิธีป้องกัน

การเลี้ยงดูสำคัญมาก ควรเลี้ยงเด็กให้เติบโตมามีคุณภาพ ใกล้ชิด ปฏิสัมพันธ์ด้านบวก ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อไม่ให้เด็กขาดความอบอุ่น พยายามมองข้อดีลูกบ้าง อย่าให้เด็กรู้สึกยังไม่ดีพอ

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | ลัดคิวหมอ โรคบุคลิกภาพแปรปรวน” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5