ปก บทความ-จับตา “มิว” โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่-01
หน้าแรก
จับตา “มิว” โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ เป็นยังไง แล้วต้องกังวลขนาดไหน
จับตา “มิว” โควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ เป็นยังไง แล้วต้องกังวลขนาดไหน

ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งสายพันธุ์โควิดกลายพันธุ์เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. โควิดกลายพันธุ์กลุ่ม variant of concern (VOC) คือโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่มีความน่ากังวล ได้แก่ โควิดสายพันธุ์อัลฟา​ (อังกฤษ) โควิดสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) โควิดสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) และโควิดสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)

2. โควิดกลายพันธุ์กลุ่ม variant of interest (VOI) คือโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่อยู่ในความน่าสนใจ ได้แก่ โควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) โควิดสายพันธุ์อีตา (เจอครั้งแรกในหลายประเทศ) โควิดสายพันธุ์ไอโอตา (สหรัฐฯ) โควิดสายพันธุ์แคปปา​ (อินเดีย) และโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (เปรู)

ทำไมโควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) ถึงอยู่ในความน่าสนใจของ WHO 

โควิดสายพันธุ์มิว มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศโคลอมเบียช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 โดยได้ชื่อตั้งต้นว่าโควิดสายพันธุ์ B.1.621 และมีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 50-60 ตำแหน่ง ซึ่งมีตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่สำคัญ 5 ตำแหน่งคือ

  • P681H ส่งผลให้การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดสายพันธ์ุมิวนั้นเกิดเร็วขึ้น โดยสามารถพบลักษณะการกลายรูปแบบนี้ได้ในโควิดสายพันธุ์อัลฟา
  • E484K และ K417N ส่งผลให้เชื้อโควิดสายพันธุ์มิวสามารถหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ โดยสามารถพบลักษณะการกลายรูปแบบนี้ได้ในโควิดสายพันธุ์เบตา ที่ทำให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้นมีประสิทธิภาพลดลง
  • R346K และ Y144T ที่ปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเนื่องจากยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ไหนที่กลายพันธุ์ในบริเวณดังกล่าว

โดยมีการค้นพบเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวแล้วมากกว่า 40 ประเทศอย่างรวดเร็วในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของการติดเชื้อโควิดทั่วโลก แต่ในกรณีของประเทศโคลอมเบีย และประเทศเพื่อนบ้านอย่างชิลี โควิดสายพันธุ์มิวได้กลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลักที่พบได้มากถึงประมาณร้อยละ 40 แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวในประเทศไทย

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความสนใจในเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อโควิดที่ง่ายมากขึ้น เป็นโรคโควิดที่รุนแรงมากขึ้น และเชื้อโควิดนั้นแพร่กระจายไปในหลายประเทศทั่วโลกมากขึ้น จึงทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่อย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นปัญหาสาธารณสุขในวงกว้างหรือไม่

แล้วความน่ากังวลต่อโควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) มีมากขนาดไหน

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าโควิดสายพันธุ์มิวมีการกลายพันธุ์ที่หลายตำแหน่ง อาจส่งผลให้การรักษาโรคโควิดในปัจจุบันนั้นอาจไม่ครอบคลุมหรือดีพอที่จะกำจัดเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวนี้ได้ รวมไปถึงในกรณีคนที่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิดแล้ว ทั้งจากการรับวัคซีนโควิด หรือจากการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ นั้นก็อาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์มิวนี้ได้

วิธีการรับมือกับโควิดสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย)

ลำพังแค่การฉีดวัคซีนโควิดครบโดส หรือเคยติดเชื้อโควิดมาก่อนนั้นอาจไม่สามารถรับมือกับโควิดสายพันธุ์มิวได้ดีเท่าไหร่ ดังนั้นทุกคนควรจะปฏิบัติตัวแบบวิถีชีวิตใหม่อย่างเคร่งครัดช่น

  • มีการทำความสะอาดมือและพื้นผิวอยู่ตลอด 
  • สวมใส่หน้ากากที่คลุมบริเวณปากและจมูกอย่างมิดชิด 
  • งดไปในที่แออัด หรือที่ระบายอากาศไม่ดี เว้นระยะห่างทางสังคม 
  • งดการดื่มน้ำหรือใช้ช้อนส้อมร่วมกัน 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัวให้ปกติ 
  • เลี่ยงการรับประทานยาหรือสมุนไพรที่ไม่ทราบฤทธิ์ หรือไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนว่าช่วยป้องกันหรือรักษาโควิด-19 ได้
  • หากมีโรคประจำตัวให้รับประทานยาเดิมอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์ตามนัดผ่านระบบทางไกล

ถ้าหากมีอาการไม่สบายตัว หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ให้แยกตัวจากผู้อื่น หาชุดตรวจแอนติเจนที่ได้ผลเร็ว (Antigen test kit; ATK) หรือไปที่จุดตรวจโรคทางเดินหายใจในสถานพยาบาล หรือจุดให้บริการในชุมชนที่สามารถตรวจสารพันธุกรรมชนิดพีซีอาร์ทันที 

ข้อมูลโดย

อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Introvert โรคกลัวสังคม
ชอบอยู่คนเดียว เก็บตัว หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือคำนิยามของบุคลิกภาพนี้ว่า Introvert แต่อีกด้านหนึ่งอาจมีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคกลัวสังคม ได้
บทความสุขภาพ
07-03-2024

2

กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก
กรดไหลย้อน ภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการ แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว แน่นหน้าอก
บทความสุขภาพ
22-02-2024

10

ภาวะฮีทสโตรก อากาศร้อน
อากาศร้อนของประเทศไทยอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด หรือ ภาวะฮีทสโตรก ที่มาจากอากาศร้อนจัดภัยฉุกเฉินจากฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมเป็นต้นไป
บทความสุขภาพ
19-02-2024

35

ทอนซิลอักเสบ เจ็บคอ
ทอนซิลอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคคออักเสบที่มีอาการ เจ็บคอ ร่วมกับไข้สูง หนาวสั่น กลืนอาหารหรือน้ำลายได้ลำบาก
บทความสุขภาพ
15-02-2024

9