08-01
หน้าแรก
จะทราบได้อย่างไรว่า เราขี้ลืม (ธรรมดาๆ) หรือเป็นโรคสมองเสื่อม
จะทราบได้อย่างไรว่า เราขี้ลืม (ธรรมดาๆ) หรือเป็นโรคสมองเสื่อม

เมื่อผู้ป่วยหรือญาติรู้สึกว่า คนสนิทมีความจำผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมมี่ผิดปกติ ต้องนำผู้ป่วยมาปรึกษาแพทย์ แพทย์จะดำเนินการซักประวัติ อาการของผู้ป่วย เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่า ผู้ป่วยนั้นเป็นสมองเสื่อมจริงหรือไม่ และถ้าใช่น่าจะเป็นสมองเสื่อมจากสาเหตุอะไร แพทย์จะซักเกี่ยวกับระยะเวลาที่มีอาการ ลักษณะการเดิน อาการร่วมอื่น ๆ เช่น มีไข้ เป็นลม หอบ เป็นต้น ลักษณะการดำเนินชีวิต ประวัติการบาดเจ็บทางสมอง ลักษณะอาหารการกิน การใช้ยา โรคประจำตัวต่าง ๆ โรคที่เป็นพันธุกรรมตกทอดมาในครอบครัว อัมพาต อัมพฤกษ์ การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจดูถึงความผิดปกติที่อยู่ในระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และจะต้องตรวจระบบของสมองด้วย

การทดสอบสมรรถภาพของสมอง

แพทย์จะให้ผู้ป่วยตอบคำถามหลาย ๆ อย่าง เพื่อที่จะดูว่า สิ่งที่ผู้ป่วยบ่นว่า ลืมนั้น ลืมนี่ เป็นอาการลืมที่พบได้ในคนทั่ว ๆ ไป หรือมีลักษณะแนวโน้มว่า จะเป็นสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับเวลา สถานที่ที่อยู่ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อาจจะให้มีการจำของบางอย่างแล้วถามซ้ำทีหลัง อาจจะให้ผู้ป่วยทำกิจการบางอย่างให้ผู้ทดสอบดู เช่นให้วาดรูป ให้เขียนนาฬิกา หรือให้บวกเลขลบเลข เพื่อดูว่า สมองยังทำงานได้ตามปกติหรือไม่

การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ (ตรวจเลือด) และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

เนื่องจากสาเหตุสมองเสื่อมเป็นได้จากหลายประการ อาจจะเกิดจากความผิดปกติแปรปรวนของระบบ เมตาโบลิกของร่างกาย เราจึงต้องเจาะเลือดเพื่อดูว่า ผู้ป่วยมีปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นหรือไม่ และการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะดูว่าผู้ป่วยมีเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่น ๆ อยู่หรือไม่ หรือมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยเคยมีปัญหาหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตันมาก่อน จึงทำให้เกิดเนื้อสมองตายเป็นย่อมๆ

ซึ่งทั้งหมดนี้มาประมวลรวมกันแล้ว แพทย์ก็สามารถจะให้คำตอบได้เป็นแนวทางว่า ผู้ป่วยเป็นสมองเสื่อมหรือไม่ ถ้าเป็นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หากคนใกล้ตัวคุณมีอาการผิดแปลกด้านความจำ อย่าลืมพามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุก่อนจะสายเกินไป

 

ข้อมูลจาก
อาจารย์ แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน
สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

6