ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาต้าน HIV
หน้าแรก
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับการป้องกันหรือเพร็พ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับการป้องกันหรือเพร็พ

ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์สะสมประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน โดยในจำนวนดังกล่าวเสียชีวิตแล้ว 7 แสน 7 หมื่นคน ถือเป็นสถิติที่ยังคงน่าเป็นห่วง ทำให้มีการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งการมีคู่นอนคนเดียว การใช้ถุงยางอนามัย การไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน รวมถึงการใช้ยาต้านเอชไอวี ที่มีผู้สนใจจำนวนไม่น้อย แต่พบว่าในหลายคนยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านเอชไอวี แต่มาใช้เป็นยาที่ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ

การใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวีหรือยาเพร็บ (PrEP)

เป็นการป้องกันวิธีหนึ่ง ที่ใช้ร่วมกับการป้องกันการติดเชื้อวิธีอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย และการมีคู่นอนคนเดียว เป็นต้น โดยชนิดของยาก็จะเป็นชนิดเดียวกับยาที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่จะใช้ยาเพียง 2 ชนิด เม็ดเดียว ในขณะที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องกินยา 3 ชนิดร่วมกัน เมื่อกินยาเข้าไปแล้วตัวยาจะอยู่ในกระแสเลือด และช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

เพร็พ เหมาะกับ

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเช่น ผู้มีคู่ผลเลือดบวกและคู่กำลังรอเริ่มยาต้านเอชไอวีอยู่หรือคู่ได้ยาต้านเอชไอวีแล้วแต่ยังตรวจพบเชื้อไวรัสในเลือดอยู่ ผู้ที่มีคู่ผลเลือดบวกที่ไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มักมาขอรับบริการการป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อหรือเพ็พ (PEP) เป็นประจำโดยไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงได้หลังได้รับคำปรึกษาแนะนำ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดที่กำลังฉีดอยู่หรือฉีดครั้งสุดท้ายภายใน 3 เดือน ผู้ต้องขังที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด และผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

ก่อนจะเริ่มเพร็พ

จะต้องมีการตรวจเลือดก่อนว่าไม่ได้ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ก่อน และมีการตรวจอื่น ๆ ได้แก่ การทำงานของไต การตั้งครรภ์ (ในเพศหญิง) ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ หลังจากที่เริ่มต้นกินยาแล้วจะต้องให้มีระดับยาคงที่ก่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 วัน จนกระทั่งระดับยาสูงเพียงพอที่จะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ที่สำคัญคือต้องกินยาต่อเนื่องทุกวัน จากข้อมูลการศึกษาในขณะนี้ และการกินยาต้านเอชไอวีสำหรับการป้องกันยังต้องอยู่ในความดูแลและควบคุมของแพทย์ เนื่องจากยามีผลข้างเคียงคือ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเปลี้ยเพลียแรง และมึนหัว ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะหายไปเองในเวลาไม่นาน ในระยะยาวอาจจะส่งผลต่อกระดูกและไตได้ ซึ่งต้องติดตามผลการศึกษาในระยะยาวต่อไป โดยจะต้องมีการตรวจติดตามว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ทุก ๆ 3 เดือน ตรวจการทำงานของไตทุก ๆ 6 เดือน  และคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะซิฟิลิส

ความกังวลของการใช้ยาต้านเอชไอวีสำหรับการป้องกันคือ

อาจทำให้การป้องกันวิธีอื่นลดลง เช่น การใช้ถุงยางลดลง หรือยังใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น โดยในความเป็นจริงแล้ว การใช้ถุงยางอนามัยยังคงเป็นเรื่องสำคัญ แม้จะกินยาต้านเอชไอวีแล้วก็ตาม เพราะยาต้านเอชไอวีไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งร้อยละ 100 และยังขาดคุณสมบัติหลายอย่างที่ไม่สามารถป้องกันได้เหมือนถุงยางอนามัย ได้แก่ ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส เป็นต้น

นอกจากนี้การกินเพร็พนั้น สามารถหยุดได้ ถ้ามีผลข้างเคียงหรือไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวีแล้ว

 

ข้อมูลจาก
ศ. พญ.ศศิโสภิณ  เกียรติบูรณกุล
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | ทำความเข้าใจยาเพร็บ ช่วยต้าน HIV” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5