ข้อไหล่ติด, ฟื้นฟู, ท่ากายภาพ
หน้าแรก
ข้อไหล่ติด ทำอะไรก็ปวด ฟื้นฟูได้แค่ทำให้ถูกวิธี
ข้อไหล่ติด ทำอะไรก็ปวด ฟื้นฟูได้แค่ทำให้ถูกวิธี

    ข้อไหล่ติด ขยับนิดขยับหน่อยก็ปวด รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน มีสาเหตุจากอะไร ฟื้นฟูและป้องกันได้
แค่ทำให้ถูกวิธี

    ข้อไหล่ติด เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด จะรู้สึกปวดเวลายกแขนไปเกือบสุดทั้งด้านหน้า ด้านข้างหรือไขว้แขนไปด้านหลัง อาจไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดได้หลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัวที่เชื่อมโยง หรือพฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ ระยะยาว และมักเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ฟื้นฟูและป้องกัน, ข้อไหล่ติด, อาการ, สาเหตุ

ฟื้นฟูและป้องกัน ข้อไหล่ติด อย่างไรให้ถูกวิธี ?

  1. หากเป็นเยอะ ขยับไหล่เพียงเล็กน้อยก็ปวดมาก อาจจำเป็นที่จะต้องพักการใช้งานไปก่อน
  2. เข้ารับการตรวจและอาจมียากิน เข้ามาตรวจกับคุณหมอเพื่อประเมินข้อบ่งชี้ในการรับยาที่ช่วยลดการอักเสบของบริเวณข้อไหล่ ซึ่งก็ต้องมาตรวจดูว่ามีข้อห้ามในการใช้ยาเหล่านั้นหรือไม่
  3. พยายามประคบเย็นช่วงที่มีการอักเสบแบบเฉียบพลัน ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้อาการปวดดีขึ้น และขยับไหล่ได้ดีขึ้น
  4. รักษาและทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล อย่างเช่น การทำอัลตราซาวนด์ เพื่อลดการอักเสบ และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นคลายตัว หากใครมีอาการไม่มาก หรือไม่สะดวกก็สามารถประคบอุ่น และทำท่ากายภาพเองที่บ้านได้เลย

ท่ากายภาพ, ข้อไหล่ติด, ท่าออกกำลังกาย

ท่ากายภาพบำบัดเองที่บ้านง่าย ๆ ด้วย 4 ท่านี้ 

     ท่าที่ 1 ท่าที่ง่ายที่สุดคือ หันหน้าเข้ากำแพง เหยียดข้อศอกให้ตรง เอามือไต่ขึ้นกำแพงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกตึง แต่ไม่ต้องให้ปวด หากห่างเกินไปให้ขยับเข้ากำแพงอีกนิด หลังจากนั้นนับ 1-10 ค้างไว้ช้า ๆ ไม่ต้องกลั้นหายใจ ข้อศอกต้องตรง และค่อย ๆ ไต่ลงเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบ เพราะหากปล่อยลงทันทีจะยิ่งเจ็บ

     ท่าที่ 2 หันด้านข้างลำตัวเข้ากำแพง ตั้งฉากกับกำแพง 90 องศา เหยียดข้อศอกให้ตรงแล้วค่อย ๆ ไต่ขึ้นให้รู้สึกตึง ทำค้างไว้แล้วนับ 1-10 แล้วค่อย ๆ ไต่ลง อย่าสะบัด เพราะผู้ป่วยบางรายจะมีเนื้อเยื่อที่อักเสบ เมื่อแขนติดก็จะหันหน้าเข้ากำแพงไปด้วย

สำหรับท่าที่ 1 และ 2 หากไม่มีผนังหรือกำแพงให้กายภาพที่โต๊ะทานข้าวแทน โดยนั่งลงและไต่มือไปตามโต๊ะทานข้าวได้เลย อาจต้องมีการปรับความห่างของเก้าอี้ และไม่แนะนำให้ใช้เก้าอี้เลื่อนแบบมีล้อ อาจทำให้เกิดการกระชากและยิ่งเจ็บไหล่ได้ ซึ่งการทำท่ากายภาพทุกครั้งศอกต้องเหยียดตรงทั้งหมด

     ท่าที่ 3 การหมุนข้อไหล่ออกนอก โดยใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัวเป็นตัวช่วย จับผ้าทั้งสองข้างจากข้างหลัง เอามือข้างที่ปวดไว้ด้านบน และเอามือข้างที่ไม่ปวดอยู่ด้านล่างเพื่อคอยดึงผ้าลงมา มือขวากำไว้ไม่ต้องเกร็ง

     ท่าที่ 4 ท่าสุดท้ายหมุนข้อไหล่เข้าใน สลับมือของท่าที่ 3 คือมือข้างที่ไม่ปวดอยู่ด้านบน จับผ้าดึงขึ้น ส่วนมือข้างที่ปวดอยู่ด้านล่างจับผ้าไว้ให้กำเฉย ๆ ไม่ต้องดึง นับค้างไว้ 1-10 

     อาการข้อไหล่ติดสามารถหายได้เอง แต่อาจใช้เวลานานถึง 1-2 ปี และอาจจะไม่สามารถกลับมายืดได้สุดเหมือนข้างที่ปกติ หากใครเป็น ข้อไหล่ติด แนะนำให้กายภาพบำบัดด้วยตัวเองจาก 4 ท่าที่สอนไปได้เลย จะช่วยให้หายเร็วขึ้น การนับ 1-10 ถือเป็นการทำ 1 ครั้ง ควรทำในตอนเช้า 10 ครั้ง และเย็น 10 ครั้ง อาการจะดีขึ้นแน่นอน แต่ถ้าหากมีอาการเจ็บหรืออักเสบมากขึ้น ควรมาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจรักษาอย่างละเอียดโดยเร็ว

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.เตชิต จิระวิชิตชัย
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

6