6การตั้งครรภ์แฝด ไม่ง่ายอย่างที่คิด
หน้าแรก
การตั้งครรภ์แฝดไม่ง่ายอย่างที่คิด
การตั้งครรภ์แฝดไม่ง่ายอย่างที่คิด

พูดถึงเรื่องการตั้งครรภ์แฝดมีอยู่หลายท่านด้วยกันที่อยากมีบุตรแฝด บางคนถึงกับต้องใช้เทคนิคทางการแพทย์เพื่อการตั้งครรภ์แฝดจนสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่วิธีตามธรรมชาติ แต่หารู้ไม่ว่าการตั้งครรภ์แฝดนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด แถมยังมีผลข้างเคียงอีกต่างหาก ดังนั้นใครที่ตั้งครรภ์แฝดแบบผิดธรรมชาติ ต้องศึกษาข้อมูลอย่างให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัย

โดยธรรมชาติครรภ์แฝดจะมีโอกาสเกิดขึ้นนานครั้งๆ ซึ่งน้อยกว่า 1% หรือประมาณ 1 ใน 300 คน

โดยส่วนใหญ่เป็นแฝดสอง ส่วนการเกิดแฝดจากเทคนิคของแพทย์นั้นขึ้นอยู่กับยุคสมัย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่สามารถมีลูกได้ด้วยตนเอง แต่อยากได้ลูกแฝดและต้องพึ่งเทคโนโลยี จัดว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมนัก เพราะเทคโนโลยีนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนที่มีบุตรยาก และช่วยเหลือในเรื่องของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

โดยปกติแล้วมนุษย์เรามีบุตรได้ครั้งละ 1 คนเท่านั้น

ดังนั้นการตั้งครรภ์แฝดจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยง จึงอยากเตือนหลายๆ คนที่ต้องการพึ่งเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรแฝดนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายๆ คนคิด เมื่อในครรภ์แฝดมีอันตรายมากมาย โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝดมากกว่า 2 คู่มีอันตรายอยู่มาก โดยทุกภาวะแทรกซ้อนเกิดในครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝดต้องดูหลายอย่าง เช่น

แฝดไข่ใบเดียวหรือแฝดไข่หลายใบ ซึ่งวิธีทางการแพทย์จะเป็นแบบแฝดไข่หลายใบ คือการใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว โดยปัจจุบันสามารถใส่ได้มากสุดเพียง 2 ตัวเท่านั้น เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคุณแม่ การตั้งครรภ์แฝดเกิดจากไข่ใบเดียวที่แยกกัน หรือไข่หลายใบที่ฝั่งตัวพร้อมๆ กัน เรื่องเพศของแฝดสามารถแบ่งได้ เช่น ถ้าไข่ใบเดียวแฝดจะเป็นเพศเดียวกัน หน้าตาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นไข่หลายใบก็แล้วแต่เพศขี้นอยู่กับสเปิร์ม

ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ได้ลูกแฝดคือ

หากเป็นแฝดธรรมชาติ กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญในลำดับต้นๆ โดยปกติสามารถทราบว่าได้ลูกแฝดได้ตอนอัลตร้าซาวด์ แต่การอัลตร้าซาวด์บางครั้งก็สามารถผิดพลาดได้เช่นกัน อย่างในบางกรณีผลอัลตร้าซาวด์เห็นเป็นลูกแฝดแต่พอคลอดแล้วกลับไม่ใช่ลูกแฝดแต่อย่างใด

ส่วนของภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝดที่พบบ่อยๆ

คือการแท้ง การแพ้ท้องที่เยอะกว่าปกติ และเมื่ออายุครรภ์เยอะขึ้นคุณแม่จะรู้สึกอึดอัด มีปัญหาเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน ครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้นและการคลอดก่อนกำหนดเพราะเด็กจะตัวโตขึ้น เมื่อมี 2 คนอยู่ในท้องคุณแม่ก็จะหนักมากกว่าปกติ ปัจจุบันจึงคลอดลูกด้วยการผ่า แต่การคลอดลูกแฝดโดยธรรมชาติ แฝดคนที่ 2 จะคลอดลำบากเพราะไม่ลงมาภายในช่องคลอด คุณหมอที่ทำคลอดต้องมีความเชี่ยวชาญมากกว่าการคลอดปกติ หากแฝดคนใดคนหนึ่งมีท่าทางก่อนคลอดผิดปกติเช่นนอนขวาง เอาก้นลง อาจพิจารณาว่าต้องทำการผ่าตัดคลอดแทน

สรุปแล้วการมีลูกแฝดโดยธรรมชาตินั้นดีกว่าการมีลูกแฝดโดยพึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ และทางที่ดีควรมีลูกทีละคน เพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ธวัช เจตน์สว่างศรี
ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Kid D Live l การตั้งครรภ์แฝด แบบคนยุคใหม่” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5