12-01
หน้าแรก
การตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเอง
การตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเอง

คุณผู้หญิงที่ต้องการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง นอกจากการเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอและรอการตรวจแล้ว อีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจเช็คได้ด้วยตนเอง ก็คือ “มือ” ของคุณเองนั่นเอง ที่สามารถตรวจพบอาการบอกเหตุถึงการเป็นมะเร็งเต้านมได้แต่เนิ่นๆ

แต่จากสถิติพบว่า มีผู้หญิงเพียง 33 % เท่านั้นที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำเดือนละหนึ่งครั้ง สำหรับการตรวจหามะเร็งเต้านมนั้น ในผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือนช่วง 5 – 7 วัน หลังจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน จะเป็นช่วงที่เต้านมจะอ่อนนุ่ม สามารถหาก้อนเนื้อแข็งๆ ได้ง่ายที่สุด ส่วนผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควร เลือกวันใดวันหนึ่งที่สะดวกและตรวจเต้านมในวันนั้นของเดือน

โดยรายละเอียด การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เราได้รวบรวมขั้นตอนทั้งหมดมานำเสนอ ดังนี้

  1. ยืนหน้ากระจกปล่อยแขนสองข้างตามลำตัวตามสบาย ตรวจดูรูปร่างและขนาดของเต้านมเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง และตรวจดูผิวหนังว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่ ดูหัวนมว่ามีการบุ๋มลงไปหรือมีการดึงรั้งหรือไม่
  2. เปลี่ยนอริยาบถโดยยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ ดูในกระจกอีกครั้ง จากนั้นเท้าสะเอวยืนตรงแล้วลองก้มตัวไปข้างหน้า สังเกตเต้านมทั้ง 2 ข้างในกระจก
  3. เริ่มคลำเต้านมโดยยกแขนข้างเดียวกับเต้านมข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ สามารถตรวจในท่ายืน นั่ง หรือนอนก็ได้ ตามความถนัด สำหรับท่านอน อาจต้องตะแคงตัวตามความเหมาะสม เพื่อให้ตรวจเต้านมได้ง่ายขึ้น บางท่านอาจชอบตรวจขณะอาบน้ำถูสบู่หรือทาโลชั่นเพราะจะทำให้ผิวหนังลื่นสะดวก ในการตรวจ
  4. ใช้ นิ้วชี้, นิ้วกลางและนิ้วนางคลำโดยใช้แรงกดที่เหมาะสม ไม่เบาเกินไปจนไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติและไม่ออกแรงมากเกินไปจนรู้สึกเจ็บ คลำทั่วเต้านมไปจนถึงบริเวณรักแร้ เพราะเต้านมมีส่วนที่ยื่นไปจนถึงขอบในของรักแร้ด้วย

สำหรับทิศทางในการคลำ แต่ละสถาบันมีข้อปลีกย่อยต่างกัน บางที่ให้คลำตั้งแต่ส่วนหัวนมวนตามเข็มนาฬิกาออกไป บางที่แนะนำให้คลำจากเต้านมส่วนนอกเข้ามาหาส่วนหัวนมเพราะเต้านมส่วนนอกนิ่มกว่า คลำง่ายกว่า บางที่แนะนำให้คลำไล่ขึ้น-ลง แต่อย่างไรก็ตามทุกแบบมีหลักการเดียวกันคือ คลำทุกส่วนของเต้านมให้ครบถ้วน ตั้งแต่ส่วนหัวนมไปจนถึงรักแร้

ความผิดปกติจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ควรพบแพทย์

มีก้อนหรือรู้สึกว่าเต้านมบริเวณใดบริเวณหนึ่งหนากว่าปกติ มีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติที่ผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น มีสีแดง ผิวย่น ผิวบุ๋มลงไปเฉพาะจุด หรือเป็นทั่ว ๆ คล้ายผิวส้ม มีอาการปวดบวมแดงร้อนมีความผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมบุ๋มที่เกิดขึ้นใหม่ (ไม่ใช่เป็นตั้งแต่สาวๆ) มีสิ่งผิดปกติไหลออกจากหัวนม เช่น เลือด น้ำปนเลือด น้ำใส น้ำสีเหลือง เป็นต้น

 

ข้อมูลจาก
เว็บไซต์ภาควิชารังสีวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

1

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

6

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

4