cover-w2
หน้าแรก
ไม่อยากแพ้ให้กับ PM 2.5 ทำอย่างไร
ไม่อยากแพ้ให้กับ PM 2.5 ทำอย่างไร

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝุ่น PM 2.5 มีระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ตา และผิวหนัง เราจะปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ วันนี้รามาแชนแนลจะมาแบ่งปันวิธีรับมือกับฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 กันค่ะ

PM 2.5 อันตรายแค่ไหน

ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน หรือขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผม โดยฝุ่น PM 2.5 นั้นเนื่องจากมีขนาดเล็กมากทำให้หลุดรอดการกรองจากจมูกและสามารถผ่านลงไปถึงถุงลมปอดได้เมื่อเราหายใจเช้าไป ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใน และสามารถเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือด และกระจายไปทั่วร่างกายได้ นอกจากนี้ในฝุ่น PM 2.5 มักพบสารก่อมะเร็ง และโลหะหนักที่เป็นอันตรายเกาะอยู่ด้วย

อาการและผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5

ระยะสั้น : ทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ผิวหนังอักเสบมีผื่นคันที่ผิวหนัง
ระยะยาว : การทำงานของปอดแย่ลง เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย

 วิธีการรับมือกับ PM 2.5 

  • ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ
  • ในบ้านหรืออาคารควรใช้เครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้
  • สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ สวมหน้ากาก N95 เมื่อต้องออกจากบ้านหรืออาคาร
  • สวมแว่นกันลม กันฝุ่น สวมเสื้อแขนยาวมิดชิด
  • ลดเวลาการอยู่นอกบ้าน/อาคารโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อ PM 2.5 สูง เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง

 

ข้อมูลโดย
อ. พญ.เนาวรัตน์ ตั้งบำรุงธรรม
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

0

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4