หน้าแรก
ไบโพลาร์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อันตรายแค่ไหน ?

ไบโพลาร์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อันตรายแค่ไหน ?

ไบโพลาร์ คำที่มักถูกใช้บอกเล่าอาการของคนที่มีอารมณ์เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย หลายครั้งถูกมองว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้า แม้ว่า ไบโพลาร์ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรคทางจิตเวชเช่นเดียวกันกับโรคซึมเศร้า แต่อาการความผิดปกติทาง ด้านอารมณ์ ก็ต่างกันออกไปอย่างชัดเจน

โดยลักษณะอาการของโรคไบโพลาร์จะแบ่งอารมณ์เป็น 2 ขั้วชัดเจน คือ อารมณ์เศร้ามากหรืออารมณ์ดีมากผิดปกติ โดยอารมณ์ทั้ง 2 ขั้วนี้จะเกิดขึ้นในคนละช่วงเวลากันแต่ละขั้วอาจจะมีเวลายาวนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์

ไบโพลาร์เกิดจากอะไร ? 

สาเหตุหลักของ ไบโพลาร์ เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองทำงานผิดปกติหรือเกิดจากพันธุกรรม ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น การเสพสารเสพติด ความเครียดจากครอบครัว การทำงาน หรือมีเรื่องที่กระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง

ไบโพลาร์,โรคไบโพลาร์,อารมณ์สองขั้ว,เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย

 

อาการของโรคไบโพลาร์

ไบโพลาร์ จำแนกอาการจะออกเป็น 2 ขั้วคือ อารมณ์ดีผิดปกติและอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ

  • อารมณ์ดีผิดปกติ
    • มีโปรเจค กิจกรรมเพิ่มขึ้นมาก
    • มีความมั่นใจในตัวเองสูง
    • พูดเยอะ พูดมาก พูดไม่หยุด
    • นอนไม่หลับ หรือไม่ยอมนอน
    • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
    • มีอารมณ์ทางเพศสูง
    • หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง
  • อารมณ์เศร้ามากผิดปกติ
    • ซึมเศร้า หดหู่ เบื่อหน่าย
    • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
    • รู้สึกไร้ค่า น้อยเนื้อต่ำใจกับตัวเอง
    • เก็บตัวไม่อยากพบเจอใคร
    • สมาธิสั้น โฟกัสอะไรได้ไม่นาน
    • คิดฆ่าตัวตาย

ไบโพลาร์,โรคไบโพลาร์,อารมณ์สองขั้ว,เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย

 

วิธีรักษาโรค ไบโพลาร์

โรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดแต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ โดยการรักษาของโรคนี้เป็นการรักษาตามอาการและระดับความรุนแรงของโรคโดยมีวิธีการรักษา ได้แก่

  • ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับยาและบำบัดทางการแพทย์
  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และห้ามหยุดยาเอง
  • คนรอบข้างควรมอบความเข้าใจ กำลังใจให้แก่ผู้ป่วยและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

 

แม้ว่าจะโรค ไบโพลาร์ จะเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง การดูแลสภาพจิตใจและการช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้ และหากเป็นแล้วควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล 
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

RAMA Channel

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งไทรอยด์มักไม่มีอาการในระยะแรก
มะเร็งไทรอยด์มักไม่มีอาการในระยะแรก แต่หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาได้ทันและมีโอกาสหายสูง รู้เท่าทันเพื่อดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก
บทความสุขภาพ
03-06-2025

1

รู้ทัน ถุงน้ำในตับอ่อน เสี่ยงทุกวัย ไม่เลือกเพศ
ถุงน้ำในตับอ่อนเป็นโรคเงียบที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย อาจไม่มีอาการแต่เสี่ยงกลายเป็นมะเร็ง รู้ทันเพื่อวางแผนตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที
บทความสุขภาพ
29-05-2025

11

แพทย์เตือน ! ห้าม ล้างไก่สด ก่อนปรุง
การล้างไก่สดก่อนปรุงอาจกระจายเชื้อแบคทีเรียอย่างแคมไพโลแบคเตอร์ไปยังอ่างล้างจานและเครื่องครัว เสี่ยงปนเปื้อนอาหารและทำให้เกิดโรคท้องร่วง
บทความสุขภาพ
28-05-2025

11

โรคพยาธิในช่องคลอด-ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในร่างกายผู้หญิง
โรคพยาธิในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว มักมีอาการตกขาวมีกลิ่น คัน แสบ หากไม่รักษาอาจลุกลามและส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
25-05-2025

12

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL