sica
หน้าแรก
ไข้ซิกา ไวรัสระบาดคนท้องต้องระวัง

ไข้ซิกา ไวรัสระบาดคนท้องต้องระวัง

หลังจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแพร่ระบาดของไวรัสซิกา โดยพบผู้ป่วย 33 ราย ใน 12 จังหวัด ทั้งนี้จากสถิติตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 จนถึง 18 พฤศจิกายน 2559 มีผู้ติดเชื้อสะสมแล้วกว่า 686 ราย ซึ่งเกือบทั้งหมดหายเป็นปกติแล้ว ในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ซึ่งถูกเฝ้าระวังเป็นพิเศษติดเชื้อทั้งหมด 68 ราย คลอดแล้ว 21 รายนั้น ทารกทุกรายปกติดีแต่ต้องอยู่ในการเฝ้าระวัง

“ไข้ซิกา” เกิดจาก

การติดเชื้อซิกาซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสแดง และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนกันกับไข้เลือดออก ไข้ซิกาจริงๆแล้วไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงอะไรหากเกิดขึ้นกับคนปกติ แต่หากเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์จะถือว่ามีความเสี่ยง เนื่องจากไวรัสอาจจะแพร่จากแม่ไปสู่ลูกได้ผ่านทางรกหรือเลือดที่มีการแลกเปลี่ยนกันและอาจส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมานั้นมีภาวะสมองเล็กและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้

ระยะฟักตัวของไวรัสซิกานั้นโดยปกติใช้เวลาเฉลี่ย 4-7 วัน โดยระยะสั้นที่สุดคือ 3 วัน นานที่สุด 12 วัน

อาการที่พบบ่อยคือ

มีไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวดข้อ ปวดศีรษะ ซึ่งจะคล้ายกับไข้หวัด โดยจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วหายไป

สำหรับการรักษานั้น ยังไม่มียารักษาโดยตรง

ปัจจุบันจะรักษาตามอาการโดยการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าไข้ลดลงตามกำหนดเวลาไม่มีภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือการทานยาลดไข้ บรรเทาปวด แนะนำให้เป็นยาในกลุ่มพาราเซตามอล และไม่แนะนำให้ใช้ยาลดการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ เพราะจะทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น

วิธีการป้องกันและระวังไข้ซิกาที่ดีที่สุดที่แพทย์แนะนำ ดังนี้

  1. ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด
  2. ใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
  3. นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตู
  4. สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวให้มิดชิด
  5. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  6. หากมีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ให้พบแพทย์โดยด่วน
  7. หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด (ส่วนใหญ่คือประเทศแถบอเมริกาใต้)

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “พบหมอรามา ช่วง Rama update” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้อักเสบVSยาฆ่าเชื้อ เหมือนหรือต่าง
ยาแก้อักเสบช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ส่วนยาฆ่าเชื้อใช้กำจัดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ ทั้งสองชนิดทำงานต่างกันและใช้ในกรณีที่ต่างกัน
บทความสุขภาพ
01-12-2024

1

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

3

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ สาเหตุ การป้องกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากพฤติกรรมการกินและปัจจัยทางพันธุกรรม อาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน ควรตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
29-11-2024

1

ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายหลอดเลือดในจอประสาทตา เสี่ยงตาบอดถาวร ควรตรวจตาและควบคุมน้ำตาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
28-11-2024

-28

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL