บทความ เรื่อง นอนไม่พอ พักผ่อนน้อย ตื่นขึ้นมามักเห็นตุ่มใส บริเวณริมฝีปาก เป็นอาการของโรคที่ชื่อว่า เริม ที่นอกจากจะเจ็บแล้ว ยังส่งผลต่อความมั่นใจอีกด้วย
หน้าแรก
เริม ติดได้ เพียงแค่สัมผัส !
เริม ติดได้ เพียงแค่สัมผัส !

หลายคนอาจสังเกตเห็นว่าทุกครั้งที่นอนไม่พอ พักผ่อนน้อย ตื่นขึ้นมามักเห็นตุ่มใส บริเวณริมฝีปาก นอกจากจะเจ็บแล้ว ยังส่งผลต่อความมั่นใจอีกด้วย ทำไมบางคนถึงเป็น เริม บ่อย ในจุดเดิม ๆ หากเคยเป็นแล้ว ไม่อยากเป็นซ้ำ จะมีวิธีป้องกันอย่างไร

เริม คืออะไร

เริมเกิดจากการติดเชื้อ Herpes Simplex Virus มีอยู่ 2 ชนิด คือ HSV type 1 และ HSV type 2 สามารถแพร่กระจายได้โดยตรงผ่านการสัมผัส ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม จึงเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่มักพบบริเวณริมฝีปากหรืออวัยวะเพศ

อาการของเริม

ในระยะแรกคนไข้จะพบตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ บริเวณริมฝีปากหรืออวัยวะเพศ อาจมีอาการแสบ คัน หรือเจ็บได้ ตุ่มอาจลุกลามมากขึ้น แล้วแตกเป็นแผลเล็ก ๆ ในเวลาต่อมา ในรายที่มีการลุกลามมากขึ้นอาจพบต่อมน้ำเหลืองโตได้ เมื่อหายแล้วเชื้อไวรัสจะหลบอยู่ในปมประสาท หากร่างกายอ่อนแอ เครียด พักผ่อนน้อย หรือเป็นคนไข้กลุ่มเสี่ยง เช่น รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ได้รับยาเคมีบําบัด อาจมีโอกาสเป็นเริมซ้ำได้ ในกลุ่มคนไข้ปกติที่เป็นซ้ำมักมีอาการไม่รุนแรง อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ บางรายเป็นและหายได้เองโดยไม่รู้ตัว

เริม ลุกลามไปอวัยวะอื่นได้หรือไม่

โดยปกติหากร่างกายแข็งแรง เริมมักเป็นเฉพาะที่ และไม่ค่อยลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ แต่หากร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นคนไข้กลุ่มเสี่ยง อาจมีโอกาสที่เริมจะกระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ เช่น ปอด ตับ หรือสมอง

4 ความเชื่อเรื่องเริม

หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อและพฤติกรรมควรเลี่ยงเมื่อเป็นเริมที่แชร์ต่อกันมา ความเชื่อเหล่านี้จริงหรือไม่

ความเชื่อที่ 1 เป็นเริมแล้ว มีโอกาสเป็นซ้ำ

ความเชื่อนี้จริง หากเคยเป็นแล้ว เชื้อไวรัสจะหลบอยู่ในปมประสาทของร่างกาย แม้ว่าจะหายดีแล้วก็ตาม เมื่อไรที่เครียดหรือพักผ่อนน้อยจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ และมักเป็นในตำแหน่งเดิม

ความเชื่อที่ 2 เป็นเริมห้ามมีเพศสัมพันธ์

ความเชื่อนี้จริง เริมเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการจูบ การกอด ฉะนั้น การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการติดโรค เพราะมักหลีกเลี่ยงการกอด จูบ หรือสัมผัสได้ยาก เมื่อเป็นเริมจึงควรรีบรักษา รอให้รอยโรคหาย หรือตกสะเก็ดเสียก่อนถึงมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย

ความเชื่อที่ 3 พักผ่อนน้อย ร่างกายอ่อนแอ ยิ่งเป็นเริมมากขึ้น

ความเชื่อนี้จริง กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเริม ได้แก่ คนที่มีความเครียด พักผ่อนน้อย รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ หากเป็นเริมแล้วมักมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มคนทั่วไป เนื่องจากไม่มีคุ้มภูมิกันที่จะสู้กับไวรัสที่หลบอยู่ในปมประสาทในขณะที่ร่างกายอ่อนแอ

ความเชื่อที่ 4 เริมหายเองได้ ไม่ต้องไปพบแพทย์

ความเชื่อนี้จริง คนไข้ที่มีอาการน้อย เริมมักยุบและหายได้เองโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ แต่หากมีอาการเจ็บ ควรไปพบแพทย์ และรับประทานยาต้านไวรัส

การรักษา เริม

พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีรอยโรคเล็กน้อยอาจซื้อยามาทาเองได้เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้หายเร็วขึ้น แต่หากเป็นมาก อักเสบ ลุกลาม มีไข้ร่วมด้วย หรือเป็นคนไข้กลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์เพื่อรับยารับประทาน หรือยาทาต้านไวรัสร่วมกับยาปฏิชีวนะ

เริมไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจ เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ และควรรีบรักษาทันทีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด

 

ข้อมูลจาก

อ. นพ.ธีรพงษ์ รัตนนุกรม

สาขาวิชาโรคผิวหนัง

ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

97_หลอดเลือดหัวใจตีบ-อาการเริ่มต้นโรคหัวใจที่ต้องรู้ไว้2
หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาทันที
บทความสุขภาพ
05-09-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
23-08-2024

11

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

14

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

9