หลายอัตลักษณ์-1
หน้าแรก
โรคหลายอัตลักษณ์ บุคลิกภาพที่ควรได้รับความเข้าใจ
A A
-+=
โรคหลายอัตลักษณ์ บุคลิกภาพที่ควรได้รับความเข้าใจ

ในภาพยนตร์หลายเรื่องมีการนำโรคหลายอัตลักษณ์ไปประยุกต์ใช้อยู่ในตัวละคร ทำให้เกิดความสงสัยอยู่ว่าโรคดังกล่าวมีอยู่จริงหรือไม่ แล้วรายละเอียดของโรคเป็นอย่างไร วันนี้ทางเราก็ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรคดังกล่าวมาฝากเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

โรคหลายอัตลักษณ์ จัดเป็นอาการป่วยทางจิตประเภทหนึ่ง

มีชื่อโรคทางภาษาอังกฤษว่า Dissociative Identity Disorder (DID) เปลี่ยนจากชื่อโรคเดิมที่มีชื่อว่าโรคหลายบุคลิกภาพ Multiple Personality Disorder เพราะอัตลักษณ์มีความหมายที่แตกต่างคำว่าบุคลิก ขณะที่คนเราโดยทั่วไปสามารถมีความหลากหลายทางบุคลิกภาพได้ และไม่จัดว่าเป็นโรค ยกตัวอย่างเช่น อยู่กับเพื่อนมีความกล้าแสดงออก แต่อยู่กับผู้ใหญ่อาจไม่ค่อยพูด เงียบ และเหนียมอาย นั่นเองที่เป็นบุคลิกภาพของคนเดียวที่แตกต่างไปตามสถานการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติไม่ใช่อาการป่วย

แต่อาการป่วยที่แท้จริงคือความหลากหลายของอัตลักษณ์ โดยอัตลักษณ์เป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวตนของคนๆ นั้น ในคนปกติจะมีเพียงอัตลักษณ์เดียว แต่ในผู้ป่วยเป็นโรคหลายอัตลักษณ์มักมีมากกว่าหนึ่ง มีความเกี่ยวข้องกับสติ ความจำ เอกลักษณ์ของตัวเอง และการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยในผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดเพี้ยนทั้งหมดในส่วนที่กล่าวมา เพราะในตัวตนของคนเหล่านั้นมีหลายส่วนที่ไม่ต่อเนื่องกัน หรือถูกแยกออกจากกันเป็นหลายส่วน อย่างในคนทั่วไปจะรู้ตัวเองว่าตัวเองถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร หรือตกอยู่ในสถานการณ์ไหน เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รักจากใคร แต่เขาก็ยังไม่ลืมตัวตนของตัวเอง เพียงแต่จะแสดงออกแตกต่างกันไปตามสถานการณ์

แต่ในผู้ป่วยความเป็นตัวตนเหล่านั้นจะขาดออกจากกัน ทำให้อารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกไม่ต่อเนื่องและไม่เหมือนกัน บางครั้งจะรู้สึกรักตัวเอง แต่บางครั้งก็จะรู้สึกเกลียดตัวเอง และมีความกดดันเกิดขึ้น มีความทรงจำเกี่ยวกับตัวเองที่ขาดหายไป จึงแสดงออกแตกต่างไปจากเดิมที่เคยเป็น เกิดจากพันธุกรรมและประสบการณ์วัยเด็ก ที่อาจมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจในวัยเด็ก ถูกทำร้ายทางเพศ หรือมีเหตุการณ์ที่รุนแรงทางเพศ เมื่อผู้ป่วยต้องเจอกับเหตุการณ์ที่รุนแรงจึงมีกลไกป้องกันตัวเองเกิดขึ้น และตัดขาดจากตัวเอง ตัดขาดจากความทรงจำของตัวเอง เพราะรู้สึกไม่ชอบและไม่ยอมรับในตัวตนของตัวเอง จึงแสดงออกในอัตลักษณ์ที่แตกต่างออกไป บางครั้งพบร่วมกับภาวะโรคซึมเศร้าหรือเจอร่วมกับประวัติของการถูกทำร้าย โดยคนไข้จะแสดงอาการเมื่อเกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ เพราะคนไข้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัย

การรักษาอาการดังกล่าว

จะต้องใช้จิตบำบัดในระยะยาว ซึ่งจะต้องค่อยๆ ปรับอัตลักษณ์และบุคลิกภาพในระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน โดยใช้จิตแพทย์เป็นหลักในการรักษา สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือให้ความเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่คนไข้เป็น เมื่อคนไข้แสดงอาการก็พยายามยอมรับ หรือไม่แสดงอาการต่อต้าน เพื่อให้คนไข้รู้สึกยอมรับในตัวเองให้ได้ และอัตลักษณ์ของคนไข้ก็จะค่อยๆ กลมกลืนกัน

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.วินิทรา แก้วพิลา
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคหลายอัตลักษณ์ : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคซึมเศร้า อาการ เป็นอย่างไร โรคซึมเศร้าเป็นอีกโรคหนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดย
โรคซึมเศร้าทำให้เกิดอาการเศร้าเรื้อรัง อ่อนเพลีย และขาดความสนใจ ควรสังเกตอาการ เข้ารับการรักษา และดูแลจิตใจเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
บทความสุขภาพ
01-11-2024

0

ฮีทสโตรกเกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปจากอากาศร้อน ทำให้หมดสติและอันตรายถึงชีวิต ควรป้องกันด้วยการดื่มน้ำและหลีกเลี่ยงแดดจัด
บทความสุขภาพ
31-10-2024

0

นิ่วในไตทำให้ปวดบั้นเอว ปัสสาวะขัด และเสี่ยงติดเชื้อ พบได้ทุกเพศทุกวัย ควรดื่มน้ำมากๆ และพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาแต่เนิ่นๆ
บทความสุขภาพ
29-10-2024

5

ก้มเล่นมือถือ ระวัง ! โรคกระดูกคอเสื่อม จะตามมา
ก้มเล่นมือถือนานๆ เสี่ยงกระดูกคอเสื่อม แนะนำปรับท่าทาง ยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ เพื่อลดอาการปวดและป้องกันกระดูกเสื่อมในระยะยาว
บทความสุขภาพ
09-09-2024

3