ความดันโลหิตสูง
หน้าแรก
โรคความดันโลหิตสูง รู้เร็วเท่าไร โอกาสรอดสูงเท่านั้น
โรคความดันโลหิตสูง รู้เร็วเท่าไร โอกาสรอดสูงเท่านั้น

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็น ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมาหลายราย เป็นอีกหนึ่งโรคภัยที่ควรทำความเข้าใจร่วมกัน เพราะโรคดังกล่าวที่รู้ได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้สูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีผู้ป่วยหลายรายเสียชีวิตเพราะโรคดังกล่าวในอัตราที่สูงอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข

โรคความดันโลหิตสูงคือ

โรคที่ความดันตัวบนวัดได้ 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างวัดได้ 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะทำการวัดจากผนังหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หากอยู่ในภาวะความดันโลหิตสูงร่างกายจะสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี เพราะภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก เมื่อหลอดเลือดได้รับความดันทั้งหลายจะเกิดการทรุดโทรม เปรียบเสมือนท่อน้ำมีสลิม และหลอดเลือดจะตีบและแข็ง ผลที่ตามมาคือเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลงและไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ความดันโลหิตถ้าหากสูงมากยังสามารถทำให้หลอดเลือดแตกได้ด้วย ในส่วนของสมองเมื่อเลือดไปเลี้ยงไม่พอ จะส่งผลต่อการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาต เลือดออกในสมอง ถ้าหากในส่วนของหัวใจก็จะทำงานหนักทำให้หัวใจโตหรือล้มเหลว ผลลัพธ์อื่นๆ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ได้แก่ ไตเสื่อม ตามีปัญหาเริ่มมองได้ไม่ดีหรือมองไม่ชัดรวมถึงอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมีผลทั้งร่างกาย

สาเหตุของโรค

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากผู้ป่วย 95% มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ทานรสเค็มจัด อายุที่เพิ่มมากขึ้น การใช้ฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น โดยส่วนใหญ่คนไข้จะไม่มีอาการเลย ถือเป็นความน่ากลัวของโรคนี้และกลายเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้ป่วยโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการวัดความดัน ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่สามารถบอกได้ว่ามีอาการหรือไม่ หากพบภาวะดังกล่าวก็จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันการ เช่น การลดทานเค็มที่ช่วยคุมความดันได้ดีขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายมีความสำคัญมาก ในเรื่องของการควบคุมความดัน

ระดับความรุนแรง

มีตั้งแต่อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นเพียงสัญญาณเตือนเท่านั้น ยังสามารถควบคุมได้อยู่ แต่ในบางรายที่อาการหนักอาจมีอาการเลือดออกในศีรษะ ซึ่งควบคุมได้ยากแล้ว ดังนั้นจึงควรตรวจเช็คความดันอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันได้ดีที่สุด เพราะการตรวจเช็คเป็นระยะๆ จะช่วยในเรื่องของการปฏิบัติตนได้ดี และช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ เช่น การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย เป็นต้น แต่ถ้าหากทำแล้วไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ และอย่าปล่อยทิ้งไว้นานเกิน เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและทันการ

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร
สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Meet the Expert ความดันโลหิตสูง รู้ช้าคร่าชีวิต” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5