Introvert โรคกลัวสังคม
หน้าแรก
โรคกลัวสังคม ชอบอยู่คนเดียว เก็บตัว เข้าข่ายหรือไม่ ?

โรคกลัวสังคม ชอบอยู่คนเดียว เก็บตัว เข้าข่ายหรือไม่ ?

หลายครั้งที่ผู้คนชอบที่จะใช้ชีวิตคนเดียว เก็บตัว ไม่ชอบออกไปพบเจอผู้คน และเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือคำนิยามของบุคลิกภาพนี้ว่า Introvert ซึ่งเป็นเพียงบุคลิกหนึ่งของผู้คนเท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่งหากไม่กล้าที่จะเข้าสังคมหรือพูดคุยกับผู้อื่นอาจมีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคกลัวสังคม ได้เช่นกัน

Introvert คืออะไร

Introvert เป็นคำที่บอกถึงลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมของคนที่ชอบเก็บตัว พูดน้อย ไม่ชอบเริ่มบทสนทนาก่อนเมื่อต้องอยู่กับคนแปลกหน้า บุคลิกภาพที่ชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ เพียงคนเดียว ซึ่งผู้คนที่มีบุคลิกภาพประเภทนี้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และไม่ได้มีความวิตกกังวลเมื่อต้องพบปะพูดคุยกับผู้อื่น แม้ในบางครั้งอาจรู้สึกหมดพลัง แต่สามารถเพิ่มพลังให้กับตัวเองได้เมื่ออยู่คนเดียว

Introvert โรคกลัวสังคม

โรคกลัวสังคม คืออะไร

กลัวสังคม หรือ Social anxiety disorder เป็นอาการวิตกกังวลอย่างหนึ่ง กลุ่มคนที่จะมีความกังวลอย่างรุนแรงในการเข้าสังคม พบปะพูดคุยกับผู้อื่น กลัวการถูกตัดสิน วิพากษ์วิจารณ์ หรือกลัวว่าผู้อื่นมองว่าตนเองไม่ปกติ จนส่งผลให้หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เช่น การสนทนากับผู้อื่น หรือพูดคุยต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และส่งผลต่อปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน อ่านข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ โรคกลัวสังคมคืออะไร ?

Introvert โรคกลัวสังคม

สาเหตุโรคกลัวสังคม

  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล
  • ความผิดปกติของสมองส่วนความกลัว
  • สภาพแวดล้อม เช่น มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถูกเพื่อนรังแก
  • ความกดดันจากการทำงาน
  • ความผิดปกติด้านร่างกาย เช่น ใบหน้าเสียโฉม พูดติดอ่าง

Introvert โรคกลัวสังคม

อาการโรคกลัวสังคม

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มือสั่น
  • เหงื่อออก
  • ลืมสิ่งที่กำลังจะพูด
  • คลื่นไส้หรือมวนท้องเมื่อต้องพูดคุยกับผู้อื่น
  • เวียนศีรษะ
  • กล้ามเนื้อเกร็ง
  • หายใจเร็ว

อ่านข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ โรคกลัวสังคมอาการแบบไหนถึงเข้าข่ายป่วย

Introvert และ โรคกลัวสังคม แตกต่างอย่างไร

พฤติกรรมของบุคคลที่เป็นIntrovertแม้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวสังคมแต่ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากIntrovertจะเป็นการบ่งบอกถึงบุคลิกภาพมากกว่าปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ซึ่งบุคคลที่เป็นIntrovertไม่ได้กลัวการเข้าสังคมหรือพูดคุยกับผู้อื่น แต่การสื่อสารกับผู้อื่นจะต้องใช้พลังงานมาก ซึ่งการที่ได้อยู่กับตนเองได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบจะเป็นการเติมพลังมากกว่าการพบปะผู้คน

ในขณะที่ผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคม จะมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนแปลกหน้า กังวลว่าจะทำเรื่องน่าอายต่อหน้าผู้อื่น หลีกเลี่ยงสภาวะกดดัน จนไม่สามารถทำงานหรืออยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ จนกระทั่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำหน้าที่หรือได้รับโอกาสที่สำคัญต่าง ๆ

วิธีการรักษา

  • จัดการกับความเครียด เช่น ออกกำลังกาย 
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดความวิตกกังวล
  • ฝึกการเข้าสังคม เช่น สบตาทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เตรียมเนื้อหาพูดคุยหรือซักซ้อมกับคนใกล้ชิด
  • หากอาการไม่ดีขึ้นควรพูดคุยกับนักจิตบำบัด
  • รักษาด้วยยา เช่น ยาต้านเศร้า ยารักษาภาวะวิตกกังวล

โรคกลัวสังคม อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในด้านต่าง ๆ เช่น โอกาสในการเรียน การทำงาน หรือโอกาสที่จะแสดงความสามารถของตนเองได้ ในผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงอาจทำให้เป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.คมสันต์  เกียรติรุ่งฤทธิ์

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะการกลืนลำบาก
การที่มีความผิดปกติของการกลืน ไม่ว่าจะเป็นการกลืนน้ำลาย หรือการกลืนอาหาร การรับประทานอาหารแล้วติดคอ หรือรับประทานอาหารแล้วต้องใช้ความพยายาม
บทความสุขภาพ
13-01-2025

0

ติด HIV อาการ สาเหตุ และการป้องกัน
HIV เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเลือด อาการเริ่มแรกคล้ายไข้หวัด หากไม่รักษาอาจกลายเป็นเอดส์ ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยและตรวจสุขภาพเสมอ
บทความสุขภาพ
08-01-2025

0

วิธีฟื้นฟูสมอง กระตุ้นความจำ
อาการของโรคสมองเสื่อม เริ่มแรกจะมีอาการหลงๆ ลืมๆ พูดซ้ำ สับสนแต่ยังคงสามารถสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ ในระยะต่อมาจะมีปัญหาในเรื่องของความคิด
บทความสุขภาพ
06-01-2025

24

2-1-1-รหัสลับของคนอยากลดน้ำหนัก
อาหารลดน้ำหนักมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกินแบบ IF หรือการกินแบบ 2:1:1 แต่ละคนก็จะมีวิธีการควบคุมที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ
บทความสุขภาพ
30-12-2024

21