kadook
หน้าแรก
โรคกระดูกพรุน ทำกระดูกหักได้โดยไม่รู้ตัว
A A
-+=
โรคกระดูกพรุน ทำกระดูกหักได้โดยไม่รู้ตัว

โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่มวลกระดูกน้อยลง เนื่องจากมีการสลายกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูก มวลกระดูกที่ลดน้อยลงทำให้ความแข็งแรงกระดูกลดลง จนกระทั่งในที่สุดไม่สามารถจะรับน้ำหนักหรือแรงกระทำต่างๆได้ ส่งผลให้กระดูกแตกหรือหักได้ง่าย

โรคกระดูกพรุนมักจะเกิดกับ

ผู้สูงอายุ เนื่องจากในวัยชราร่างกายจะสร้างกระดูกมาทดแทนส่วนที่สึกหรอได้น้อยลง แต่ทั้งนี้ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าพันธุกรรมมีส่วนในการกำหนดให้แต่ละคนมีมวลกระดูกมากน้อยต่างกัน เช่นเดียวกับที่มักจะพบโรคนี้ในครอบครัวเดียวกัน แต่เนื่องจากเกี่ยวข้องกับยีนหลายตัว การแสดงออกจึงมักเกิดในผู้ที่เข้าสู่วัยชราหรือในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนบางราย ที่ระดับฮอร์โมนลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการสลายกระดูกเพิ่มมากขึ้น

ส่วนกลุ่มเสี่ยงอื่น คือ กลุ่มที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราจัด และใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ผู้ป่วยโรคนี้มักจะกระดูกหักง่าย แม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย โดยตำแหน่งที่พบว่ากระดูกหักบ่อย คือ

กระดูกปลายแขน ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง ซึ่งหากกระดูกสันหลังหรือข้อสะโพกหักมักจะมีภาวะแทรกซ้อนตามมา และมีอัตราการเสียชีวิตสูงถือเป็นภาวะที่อันตรายมาก

ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ แต่ทั้งนี้ก็ยังมีสิ่งที่พอจะสังเกตได้ เช่น

กระดูกสันหลังหัก จะทำให้หลังโก่ง ตัวเตี้ยลง ดังนั้นถ้าหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือ สตรีวัยหมดประจำเดือนจะต้องสังเกตตัวเองและวัดส่วนสูงอยู่เป็นประจำ หากหลังโก่ง ควรไปพบแพทย์หรือเคยมีกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรงมาก่อน หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ สำหรับการตรวจวินิจฉัยนั้น ปัจจุบันใช้วิธีวัดมวลกระดูกด้วยเครื่อง DXA ซึ่งมีในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั่วไป รวมถึงการเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อแยกโรคร้ายแรงอื่นก่อนจะให้การรักษา

ปัจจุบันนั้นการรักษาได้ก้าวหน้าไปไกลและมียาใหม่ๆ ที่สามารถป้องกันกระดูกหักได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ คือ

ยากระตุ้นการสร้างกระดูกและยาต้านการสลายกระดูก ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบทั้งชนิดเม็ดรับประทานหรือฉีดเข้าเส้น และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยผู้ป่วยโรคนี้ควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้โรคพัฒนามากขึ้น การทานยาต่อเนื่องและปฏิบัติตนตามแพทย์สั่งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม พร้อมทั้งควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama”โรคกระดูกพรุน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

นิ่วในถุงน้ำดี ดีเกิดจากการสะสมของสารในน้ำดี ส่งผลให้ปวดท้องจุกเสียด ควรทราบสาเหตุ อาการ และปัจจัยเสี่ยงเพื่อรับมือและป้องกันอย่างถูกวิธี
นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการสะสมของสารในน้ำดี ส่งผลให้ปวดท้องจุกเสียด ควรทราบสาเหตุ อาการ และปัจจัยเสี่ยงเพื่อรับมือและป้องกันอย่างถูกวิธี
บทความสุขภาพ
02-11-2024

0

โรคซึมเศร้า อาการ เป็นอย่างไร โรคซึมเศร้าเป็นอีกโรคหนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังมีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดย
โรคซึมเศร้าทำให้เกิดอาการเศร้าเรื้อรัง อ่อนเพลีย และขาดความสนใจ ควรสังเกตอาการ เข้ารับการรักษา และดูแลจิตใจเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
บทความสุขภาพ
01-11-2024

0

ฮีทสโตรกเกิดจากอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปจากอากาศร้อน ทำให้หมดสติและอันตรายถึงชีวิต ควรป้องกันด้วยการดื่มน้ำและหลีกเลี่ยงแดดจัด
บทความสุขภาพ
31-10-2024

0

นิ่วในไตทำให้ปวดบั้นเอว ปัสสาวะขัด และเสี่ยงติดเชื้อ พบได้ทุกเพศทุกวัย ควรดื่มน้ำมากๆ และพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาแต่เนิ่นๆ
บทความสุขภาพ
29-10-2024

5