06-01
หน้าแรก
"โรคกรดไหลย้อน" ปล่อยไว้เป็นมะเร็งได้จริงหรือ?
"โรคกรดไหลย้อน" ปล่อยไว้เป็นมะเร็งได้จริงหรือ?

โรคกรดไหลย้อน ความผิดปกติที่เกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมาสู่หลอดอาหาร เป็นผลมาจากการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างหย่อนตัวลง ทำให้มีน้ำย่อยหรือกรดไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารได้นั่นเอง

สาเหตุอีกหนึ่งอย่างของการเกิดโรคกรดไหลย้อนนั้น

มาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานของเปรี้ยว เผ็ด ดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ไม่ได้รอให้อาหารเคลื่อนตัวลงไปยังกระเพาะ ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง

โรคกรดไหลย้อนปล่อยไว้เป็นมะเร็งได้จริงหรือ ?

มาฟังคำตอบจาก อ.พญ. นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเรื่องกรดไหลย้อนนี้กัน

กรดไหลย้อนนั้น จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหารและบริเวณกล่องเสียง ซึ่งถ้าหากมีการอักเสบเรื้อรังไปนานๆ จะทำให้เซลส์บริเวณเยื่อบุผิวมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลส์มะเร็งได้ แต่ว่ามีโอกาสไม่เยอะมาก แค่ประมาณ 1-6% เท่านั้น

การรักษาอันดับแรกเลยคือ

ต้องควบคุมอาหาร พวกอาหารเปรี้ยว เผ็ด ชา กาแฟ น้ำอัดลม ของมัน ของทอด ควรงดน้อยลง ต่อมาคือเวลาทานอาหารแล้วอย่าพึ่งล้มตัวลงนอนต้องเว้นไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ให้อาหารเคลื่อนตัวไปยังกระเพาะเรียบร้อยก่อน

แต่สำหรับคนไข้ที่เป็นกรดไหลย้อนและกลายเป็นมะเร็งแล้ว(ส่วนใหญ่จะเกิดที่หลอดอาหาร) นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว ก็จะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด แต่หากเป็นมะเร็งระยะหลังๆ อาจจะต้องใช้วิธีการฉายแสงและใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย

วิธีสังเกตว่าตัวเองเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่

ให้ดูว่าเรามีอาการแสบคอเจ็บคอเรื้อรัง อาการเรอเปรี้ยวเรื้อรัง อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก อาการไอเรื้อรัง หรือมีอาการเหล่านี้มากขึ้นหลังจากเราทานอาหารไปแล้ว หากมีให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | โรคกรดไหลย้อนปล่อยไว้เสี่ยง“มะเร็ง”” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8