20-01
หน้าแรก
"แพทย์แนะวิธีดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง"
"แพทย์แนะวิธีดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง"

การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์อย่างง่าย มีดังนี้

ก่อนอื่นต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์และดวงตา ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์และกล่องใส่คอนแทคเลนส์ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องตามขั้นตอน

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้คอนแทคเลนส์

  • อย่าใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน
  • อย่าใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ
  • อย่าใช้น้ำประปา น้ำบาดาล หรือน้ำเกลือที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อในการล้างหรือทำความสะอาดคอนแทคเลนส์
  • อย่าใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ต่อเนื่องนานเกิน 8–10 ชั่วโมง/วัน ควรเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ตามระยะเวลาทกำหนดสำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดนั้นๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาที่ไม่ได้แนะนำโดยจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ขณะใส่คอนแทคเลนส์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตามัว ควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์ และรีบพบจักษุแพทย์ทันที

การใส่คอนแทคเลนส์อย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นหัวใจสำคัญในการใช้คอนแทคเลนส์อย่างปลอดภัย

หากไม่สามารถปฏิบัติได้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง เช่น

โรคตาแห้ง เยื่อบุตาหรือกระจกตาอักเสบจากภูมิแพ้คอนแทคเลนส์ กระจกตาบวมขุ่น หรือมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่กระจกตาจากการที่กระจกตาขาดออกซิเจน และที่รุนแรงที่สุด คือ การติดเชื้อที่กระจกตา ซึ่งอาจลุกลามเข้าไปภายในลูกตา ทำให้สูญเสียดวงตาหรือการมองเห็นอย่างถาวรได้ หากเกิดอาการผิดปกติจากการใส่คอนแทคเลนส์ต้องรีบพบจักษุแพทย์ทันทีก่อนที่จะสายเกินแก้ไข

 

ข้อมูลจาก
รศ. พญ.เกวลิน เลขานนท์
ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

12

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

7

หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของ โรคสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
21-08-2024

8

ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมี ประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมีประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
บทความสุขภาพ
20-08-2024

22