22
หน้าแรก
แตงโมรถเข็นกับเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส(Staphylococcus Aureus)
แตงโมรถเข็นกับเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส(Staphylococcus Aureus)

ปัจจุบันแทบทุกตรอกซอกซอยหรือจะเป็นซุปเปอร์มาเก็ตในห้างหรูสิ่งที่มักจะมีขายอยู่เสมอ คือ ผลไม้ตัดแต่งพร้อมทาน ไม่ว่าจะเป็น แตงโม สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง ชมพู่ ที่แช่น้ำแข็งอยู่เรียงรายดูแล้วน่าทาน ช่วยให้ร่างกายของเราสดชื่นในหน้าร้อนนี้ได้ดีมากๆ แต่หากกรรมวิธีการเตรียมผลไม้นั้นไม่สะอาดก็เสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อร่างกายของเราได้เช่นกัน

วันนี้เราจะมาพูดถึงเชื้อโรคในเจ้าแตงโมสีแดงสด ผลไม้ยอดนิยมของคนไทยที่เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่เคยทานอย่างแน่นอน แต่รู้หรือไม่ว่าแตงโมที่ไม่สะอาดนั้นมีโอกาสที่จะติดเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส(Staphylococcus Aureus) จากกรรมวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสด้วยมือที่สกปรกจากผู้ขาย ความสกปรกของอุปกรณ์ เช่น มีด เขียง

เจ้าเชื้อตัวนี้เมื่อได้รับไปจำนวนมากก็จะสามารถก่อสารพิษในร่างกายของเราได้ ลึกๆ แล้วเจ้าเชื้อตัวนี้เป็นอย่างไรกัน มาฟัง อ.นพ.ธเนศ แก่นสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายกัน

เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus)

เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ตามผิวหนังของเรานี่เอง ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง ทีนี้เมื่อเราไม่ได้ทำความสะอาดมือแล้วไปหยิบจับอาหารก็มีโอกาสที่เชื้อตัวนี้จะติดลงไปในอาหารที่เราทานและเข้าสู่ร่างกายได้

โดยปกติเชื้อตัวนี้ไม่ค่อยจะเป็นพิษเป็นภัยกับทางเดินอาหารของเราเท่าไหร่ แต่มันดันสามารถสร้างสารพิษชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ เอนเทอโรทอกซิน (Enterotoxin)

ที่สามารถทนความร้อนได้ดี เจ้าสารพิษตัวนี้แหละเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเหลว อาการปวดท้อง หรืออุจจาระร่วงเฉียบพลันได้เลยทีเดียว โดยปกติเมื่อสารพิษตัวนี้โดนกำจัดออกไปก็จะทำให้อาการของเราดีขึ้น ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน

แต่สิ่งที่ต้องกังวล คือ เมื่อเราถ่ายเหลวออกมามากๆ อาจจะทำให้เกิดอาการขาดน้ำ ยิ่งในผู้สูงอายุเมื่อขาดน้ำเยอะๆ ก็อาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำหรือช็อกได้ก็ต้องระวังตรงนี้ให้มากๆ

เราไม่สามารถรู้ได้ว่าแต่ละคนจะมีเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส(Staphylococcus Aureus) นี้หรือไม่ สิ่งสำคัญคือเรื่องสุขอนามัย ให้เราพยายามสังเกตผู้ขายว่ามีการสวมถุงมือป้องกันที่ถูกต้อง อุปกรณ์ต่างๆ ที่สะอาด เท่านี้ก็เพียงพอแล้วในการป้องกันเจ้าเชื้อโรคตัวนี้

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update แตงโมรถเข็น กับเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

2

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

9

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Infographic
05-04-2024

6