เลือดกำเดาไหล เลือดกำเดา
หน้าแรก
เลือดกำเดาไหล แบบนี้ควรพบแพทย์
เลือดกำเดาไหล แบบนี้ควรพบแพทย์

เลือดกำเดาไหล เป็นภาวะเลือดออกทางโพรงจมูกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ เลือดออกทางจมูกด้านหน้า และเลือดออกทางจมูกด้านหลังโพรงจมูก ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ทำให้มี เลือดกำเดา ออกปริมาณมากและอาจทำให้อาเจียนเป็นเลือดได้

สาเหตุ

  • สภาพอากาศร้อนจัดทำให้เส้นเลือดบริเวณเยื่อบุโพรงจมูกแห้งและแตกออกเมื่อถูกสัมผัสแรง ๆ
  • ได้รับอุบัติเหตุหรือการกระแทกรุนแรงบริเวณจมูก
  • ใช้ยาบางใช้ยาบางชนิดไม่ถูกวิธีหรือเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่เคยเป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลัน
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • มีสิ่งที่แปลกปลอมเข้าไปในจมูก
  • เส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตกหรือฉีกขาด

เลือดกำเดาไหล แบบไหนต้องพบแพทย์

เลือดกำเดาไหลส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง หากมีเลือดกำเดาไหลออกมามากกว่าปกติ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงที่ซับซ้อน ส่งผลให้ต้องมีการเข้าปรึกษากับทางแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • เลือดกำเดาไหลไม่หยุดเกินกว่า 5-10 นาที
  • เลือดไหลออกมาเป็นลิ่มเลือด
  • ตัวซีด ปากซีด มีอาการหน้ามืด เวียนหัว คล้ายจะเป็นลม
  • สำลักหรืออาเจียนออกมาเป็นเลือด
  • ชีพจรเต้นเร็ว หายใจลำบาก

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> เลือดกำเดาไหลแบบไหนต้องไปหาหมอ

เลือดกำเดาไหล เลือดกำเดา

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • นั่งหลังตรงโค้งตัวมาข้างหน้าเพียงเล็กน้อย ป้องกันไม่ให้เลือดไหลลงไปในคอและปอด เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสให้เลือดเข้าไปปิดกันทางเดินหายใจและเกิดอาการสำลักได้
  • ใช้มือบีบปีกจมูกทั้ง 2 ข้างประมาณ 5 นาที จนกว่าเลือดจะหยุดไหลและหายใจทางปากแทน
  • หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ แคะจมูก การยกของหนัก เนื่องจากจะทำให้เลือด
  • ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งที่บริเวณหน้าผากและดั้งจมูก
  • หลีกเลี่ยงการยัดกระดาษทิชชูเข้าในรูจมูกเพื่อหยุดเลือด เนื่องจากโพรงจมูกจะเกิดแผลเมื่อดึงกระดาษทิชชูออก ทำให้เลือดไหลซ้ำ
  • หากเลือดหยุดไหลแล้วให้นอนพักและยกหัวสูงขึ้น
  • สังเกตอาการไม่ให้มีการช็อกหรือหมดสติ

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> “เลือดกำเดาไหลทำยังไงถูกต้องที่สุด?”

เลือดกำเดาไหล เลือดกำเดา

วิธีการรักษา เมื่อมีอาการ เลือดกำเดาไหล รุนแรง

กรณีที่ผู้ป่วยมี เลือดกำเดา ไหลเป็นระยะเวลานานต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลป้องกันภาวะช็อกหมดสติจากการสูญเสียเลือด และให้แพทย์ประเมินอาการรวมไปถึงวิธีการรักษา ดังนี้

  • ใช้ยาหดหลอดเลือดสอดเข้าที่โพรงจมูก เพื่อให้เส้นเลือดในเยื่อบุจมูกหดตัวลง เลือดออกลดลง ลดอาการบวม จนแพทย์สามารถประเมินอาการและค้นหาตำแหน่งที่เลือดออกได้
  • จี้จุดเลือดออก จะเป็นการรักษาโดยการใช้สารเคมีหรือพลังงานความร้อน เพื่อห้ามเลือดโดยแพทย์จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่ก่อนการรักษา
  • ปรับยาหรือสั่งยาใหม่ ผู้ป่วยที่มีการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จะมีการพิจารณาปรับยาหรือสั่งยาใหม่เพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว

วิธีป้องกัน

  • ไม่แคะ แกะ หรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง
  • ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณจมูก ศีรษะ หรือใบหน้า
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีควันบุหรี่ สารเคมี หรือฝุ่นละออง
  • ใช้น้ำเกลือหยอดจมูกป้องกันเยื่อบุโพรงจมูกแห้ง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

เลือดกำเดาหรือภาวะเลือดออกทางโพรงจมูกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เองที่บ้าน หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เลือดกำเดา ไหลออกมาเป็นปริมาณมากและมีระยะเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

 

ข้อมูลจาก

ผศ. ดร. พญ.เดือนธิดา ทรงเดช

สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

Website Rama mahidol : https://www.rama.mahidol.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

10

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

7

หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของ โรคสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
21-08-2024

8

ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมี ประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมีประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
บทความสุขภาพ
20-08-2024

22