image1-1
หน้าแรก
เบาหวาน ไม่หายขาดแต่คุมได้
เบาหวาน ไม่หายขาดแต่คุมได้

โรคเบาหวานอีกหนึ่งโรคร้ายที่หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่เราสามารถที่จะควบคุมมันได้ ซึ่งเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

ชนิดที่ 1 คือประเภทที่จะมีภูมิต้านทานสารอินซูลีน

สารอินซูลีนคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งถ้าสารอินซูลีนไม่พอหรือไม่ทำงาน จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและนำไปสู่โรคเบาหวาน

ชนิดที่ 2 ในส่วนของคนที่มีอินซูลิน แต่อินซูลินทำงานไม่เพียงพอ

หรืออินซูลินขี้เกียจ ซึ่งจะเกิดขึ้นในส่วนของคนอ้วน คนที่ขี้เกียจออกกำลังกาย ส่งผลให้เป็นเบาหวานได้มากขึ้น

ชนิดที่ 3 คนที่เป็นโรคตับอ่อน

ซึ่งตัวตับอ่อนมีหน้าที่สร้างอินซูลิน เช่น คนที่ดื่มเหล้าเยอะๆ เป็นตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้การทำงานของตับอ่อนในภาพรวมลดลง และนำไปสู่เบาหวานได้เช่นกัน

ความอันตรายของเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • ระยะแรก คือการที่น้ำตาลในเลือดสูง หรือสูงขึ้นเฉียบพลัน เช่น 400-500 เกลือแร่ผิดปกติ มีภาวะขาดน้ำ จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เพราะจะทำให้คนไข้ซึมลงได้ หรือในภาวะที่เรียกว่า ช็อกน้ำตาล
  • ระยะที่ 2 คือเป็นเบาหวานมานานแล้วไม่สามารถคุมน้ำตาลได้ในระยะเวลายาวนาน จะทำให้เส้นเลือดพัง เส้นเลือดแข็งง่ายขึ้น ตีบง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเส้นเลือดทั่วร่างกายตีบ ก็จะส่งผลให้เส้นเลือดในสมองตีบด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงขั้นการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเส้นเลือดหัวใจตีบก็จะส่งผลให้หัวใจขาดเลือด ถ้าเส้นเลือดที่ขาตีบก็จะทำให้เวลาเป็นแผล แผลก็จะหายช้า เนื่องจากแผลขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไข้ต้องตัดขาทิ้ง เรียกว่า ส่งผลต่อทุกส่วนของร่างกาย

โดยในปัจจุบันเบาหวานชนิดที่ 2 จะเป็นชนิดที่ถูกตรวจพบมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มคนที่อายุเยอะหรือกลุ่มคนที่มีรูปร่างอ้วน

ในส่วนของการรักษา

อย่างที่กล่าวไปว่าไม่มีทางที่จะรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงแค่คุมอาหาร ซึ่งแพทย์จะต้องดูว่าคนไข้มีลักษณะเป็นอย่างไร เช่นถ้าผอมก็จะต้องกินมากขึ้นแต่ไม่ใช่ในระดับที่มากเกินไป ต้องอยู่ในระดับที่สมดุล ซึ่งถ้าน้ำตาลสูงเกินเกณฑ์ก็จะต้องใช้ยาเป็นตัวช่วย

ส่วนคนที่ผอมมากเกินไป อาจมีผลมาจาก น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งทำให้ไตของเราเก็บน้ำตาลเอาไว้ ถ้าสูงเกินไปไตก็จะล้น ส่งผลให้น้ำหนักลด หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนหากปัสสาวะเกิน 3 ครั้งเข้าข่ายที่น่าสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน

ส่วนคนที่อ้วนจริงๆ และมีน้ำตาลในเลือดสูง การลดความอ้วนหรือการลดอาหารก็สามารถที่จะช่วยได้ เมื่อลดอาหารน้ำตาลก็จะไม่เยอะ พอน้ำหนักลดลงอินซูลินก็จะไม่ขี้เกียจ ซึ่งจะช่วยเสริมกัน ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไป

 

ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | ลัดคิวหมอ โรคเบาหวาน” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8