อาการตาพร่ามัว ปัญหาสายตา รักษาได้
หน้าแรก
อาการตาพร่ามัว ปัญหาสายตา รักษาได้

อาการตาพร่ามัว ปัญหาสายตา รักษาได้

อาการตาพร่ามัว เป็นอีกหนึ่งปัญหาของการมองเห็นผิดปกติ ผู้ป่วยจะมองภาพไม่ชัดเจน หรือเห็นภาพเลือนลาง ถ้าหากเป็นมากจะไม่สามารถจำแนกได้ว่าภาพนั้นคืออะไร ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง อาการตาพร่ามัวยังเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายบางอย่าง ที่ทำให้เกิดภาวะพิการทางสายตาได้ อาทิ โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น อาการตาพร่ามัวจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากได้รับการรักษาภายในเวลาที่เหมาะสม อาการดังกล่าวก็สามารถหายได้และป้องกันการเกิดโรคร้ายที่รุนแรงได้

ลักษณะของ อาการตาพร่ามัว

การมองเห็นที่ผิดปกติในลักษณะของการมองภาพไม่ชัดเจน รวมถึงค่าสายตามีความผิดปกติแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่างอาการตาพร่ามัว ดังนี้

  • วัตถุเดิมที่เคยมองเห็นชัดเจนกลายเป็นภาพเบลอ
  • ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดภายในเวลาสั้น ๆ เช่น เคยวัดค่าสายตาพบว่าสั้น 200 หลังจากนั้นไม่กี่เดือนกลายเป็นสั้น 500
  • มองเห็นแสงสะท้อน เช่น ขณะขับขี่ยานพาหนะเห็นภาพสะท้อนจนไม่สามารถขับขี่ต่อไปได้ หรือมองพระจันทร์แล้วเห็นเป็นเงาสะท้อน เป็นต้น
  • มองใบหน้าคนเป็นฝ้ามัว หรือใบหน้าบุคคลนั้นความจริงแล้วมีสิวและริ้วรอยต่าง ๆ แต่กลับมองเห็นเป็นใบหน้าเนียนเรียบ
  • มองตัวหนังสือไม่ชัดเจน ไม่สามารถอ่านหนังสือได้
  • มองภาพสีสดใสกลายเป็นสีจาง
  • มองภาพแคบลง เดินชน หรือขับรถชน ด้านข้าง

ความรุนแรงของ อาการตาพร่ามัว

อาการตาพร่ามัว เป็นสัญญาณของความผิดปกติทางตา อาจนำไปสู่โรคต้อ ทั้งต้อกระจกและต้อหิน ที่ทำให้เกิดภาวะตาบอดได้ในอนาคต หากได้รับการรักษาทันเวลาจะสามารถป้องกันอาการต้อรุนแรงได้ แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ตาบอดได้

วิธีทดสอบอาการตาพร่ามัวเบื้องต้น

  • ผู้ทดสอบยืนห่างผู้ป่วย 3 เมตร
  • ให้ผู้ป่วยปิดตาหนึ่งข้าง
  • ผู้ทดสอบชูนิ้วให้ผู้ป่วยดู
  • สอบถามผู้ป่วยว่าเห็นกี่นิ้ว และให้ผู้ป่วยตอบตามที่มองเห็น เพื่อทดสอบการมองเห็น
  • หากคำตอบของผู้ป่วยไม่ตรงกับจำนวนนิ้วที่ชู หมายถึงตาข้างนั้นมีอาการพร่ามัวค่อนข้างมาก

อาการตาพร่ามัวและโรคต้อ

ผู้ป่วยที่มีอาการตาพร่ามัวบางรายอาจไม่สามารถมองเห็นได้เลย ต้องใช้มือคลำเพื่อช่วยเหลือตัวเอง เกิดจากเลนส์ตากลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ หรือในบางรายเป็นสีขาวขุ่น เปลือกหุ้มเลนส์พร้อมที่จะรั่ว หากเลนส์รั่วจะส่งผลให้น้ำโปรตีนในเลนส์ออกมาและกลายเป็นต้อหินได้ อาการระดับนี้เกิดจากการปล่อยทิ้งไว้นาน โดยไม่ได้รับการรักษา

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิด โรคต้อกระจก

  • แสงแดด
  • สารพิษและยาบางชนิด
  • รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ร่างกายขาดวิตามิน ไม่รับประทานผักผลไม้
  • อุบัติเหตุต่อตา
  • การสูบบุหรี่
  • การติดเชื้อในตา เป็นต้น.

ปัจจัยที่อาจทำให้เกิด โรคต้อหิน

  • การซื้อยาหยอดตา หรือยากินบางชนิดมาใช้เองโดยเฉพาะกลุ่มเสตียรอยด์
  • การอักเสบในตา
  • ปล่อยให้อาการตาพร่ามัวจากต้อกระจก ดำเนินไปเป็นเวลานานโดยไม่รักษา

 

ข้อมูลโดย
รศ. นพ.อนุชิต ปุญญทลังค์
สาขาวิชาจักษุประสาทวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “เรียนรู้การรับมือ อย่าทิ้งให้ “ตาพร่ามัว จนมืดดับลง” : พบหมอรามาช่วง Rama Health Talk” ได้ที่นี่

ติดตาม Rama Channel เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

10-สัญญาณเตือน-ภาวะการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ-Low-self-esteem
สัญญาณการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ (low self-esteem) เช่น วิจารณ์ตัวเองเกินไป กลัวการล้มเหลว และไม่มั่นใจในตัวเอง อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์
บทความสุขภาพ
04-12-2024

3

ยาแก้อักเสบVSยาฆ่าเชื้อ เหมือนหรือต่าง
ยาแก้อักเสบช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ส่วนยาฆ่าเชื้อใช้กำจัดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ ทั้งสองชนิดทำงานต่างกันและใช้ในกรณีที่ต่างกัน
บทความสุขภาพ
01-12-2024

4

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

5

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ สาเหตุ การป้องกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากพฤติกรรมการกินและปัจจัยทางพันธุกรรม อาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน ควรตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
29-11-2024

5