โรคอัลไซเมอร์
หน้าแรก
“อัลไซเมอร์” โรคที่ต้องการความเข้าใจไม่ใช่ความรุนแรง
“อัลไซเมอร์” โรคที่ต้องการความเข้าใจไม่ใช่ความรุนแรง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเพิ่งมีข่าววัยรุ่นเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่กำลังโดนลูกสาวตีด้วยไม้กวาดอย่างทารุณ กลายเป็นประเด็นร้อนที่หลายคนวิพากย์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงการกระทำดังกล่าวที่ค่อนข้างรุนแรงและไม่เป็นผลดีนักกับผู้ป่วย ครั้งนี้เราจึงขออาสามาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ด้วยวิธีการที่ดีกว่า และเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล

ก่อนอื่นคงต้องมาทำความเข้าใจกันอีกครั้งถึงอาการของโรคอัลไซเมอร์ ที่ผู้ป่วยจะมีความเสื่อมในเรื่องของความจำ การรับรู้ ความคิด จินตนาการ และการตัดสินใจ โดยอาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนช่วยหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุของโรคนั้นมีอยู่หลายประการ ได้แก่

พันธุกรรม อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคนี้ หรือการได้รับอุบัติเหตุทางสมองทำให้สมองได้รับบาดเจ็บ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคด้วยเช่นกัน รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือด เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 12 เป็นต้น

ระยะของโรคอัลไซเมอร์

  1. ระยะก่อนสมองเสื่อม  ผู้ป่วยมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เล็กน้อย มีปัญหาในการจดจำข้อมูลใหม่ ไม่สามารถรับข้อมูลใหม่ได้ แต่ยังสามารถดำเนินชวิตประจำวันได้ปกติ
  2. สมองเสื่อมระยะแรก สูญเสียความจำในระยะสั้น ความจำใหม่หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา ใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานกว่าเดิม
  3. สมองเสื่อมระยะปานกลาง ลืมและสับสนมากขึ้น ทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ การพูดและการใช้ภาษาจะบกพร่องชัดเจน
  4. สมองเสื่อมระยะสุดท้าย สูญเสียความทรงจำในระยะสั้นและยาว การใช้ภาษาลดลงอย่างมาก การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ จะลดลง ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

แต่ทางการแพทย์จะมียาที่ช่วยควบคุมอาการป่วยไม่ให้แย่ลง นอกจากนี้คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวคือส่วนสำคัญที่สุด ที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข หลักการดูแลรักษาอัลไซเมอร์มี 4 บ ได้แก่

  1. บอกเล่า คือบอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำหรือให้ทำอะไร ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล
  2. เบี่ยงเบน คือหลีกเลี่ยงการโต้เถียง และไม่ต้องชี้แจงเหตุผล พยายามดึงจุดสนใจไปสู่กิจกรรมที่คุ้นเคยและรื่นรมย์
  3. บอกซ้ำ คือเล่าให้ฟังว่าจะทำอะไรต่อไปด้วยท่าทีและน้ำเสียงเป็นมิตร ถ้าผู้ป่วยหงุดหงิดหรือทำไม่ได้ก็ต้องหยุด
  4. แบ่งเบา/บำบัด คือสิ่งแวดล้อมต้องสงบ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่มากเกินไป และดำเนินกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นระเบียบ

ที่สำคัญที่สุดในหลักการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็คือ “ความเข้าใจ” คนในครอบครัวหรือผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานจากผู้ดูแลอย่างแท้จริง และคนไข้ไม่ได้แกล้งทำ ผู้ดูแลต้องทำใจยอมรับ อดทน และไม่ทอดทิ้ง ดูแลด้วยความรักความเข้าใจ พยายามให้กำลังใจผู้ป่วย และผู้ดูแลเองก็ต้องรู้ขีดจำกัดของตัวเอง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ อาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาด้านอารมณ์ หากผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อยควรหยุดพักและให้ผู้อื่นมาดูแลแทน

 

ข้อมูลจาก
คุณทิพเนตร งามกาละ
ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) สาขาอายุรศาสตร์- ศัลยศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““อัลไซเมอร์” อาการป่วยที่คนรอบข้างควรใส่ใจ : Rama Square ช่วง นัด กับ NURSE” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5