fuckfood
หน้าแรก
อันตรายของสารปนเปื้อนในอาหาร
อันตรายของสารปนเปื้อนในอาหาร

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีกระแสระอุในโลกโซเชียลฯ อีกครั้งเกี่ยวกับการนำน้ำแข็งเก่ากลับมาใช้ใหม่พร้อมเสิร์ฟให้ลูกค้าคนถัดไปแถมใช้หลอดซ้ำอีกด้วย เรื่องนี้ไม่รู้จริงเท็จอย่างไร แต่ประเด็นคำถามที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของอันตรายต่อร่างกายนั้น รุนแรงระดับไหนอย่างไร คือเรื่องที่เราจะมาพูดกันในครั้งนี้

จากข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร ถือเป็นปัญหาลำดับต้นๆ ในสังคมไทย ที่ผ่านมาพบว่าอาหารไม่สะอาดนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บได้

โดยการปนเปื้อนในอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • การปนเปื้อนทางเคมี ยกตัวอย่างการปนเปื้อนทางเคมี มักเกิดจากการใช้สารเคมี เช่น การใช้สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน เป็นต้น
  • การปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ ส่วนการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์นั้น มักเกิดจากสุขลักษณะการผลิตไม่ดี
  • การปนเปื้อนทางกายภาพ ในส่วนของการปนปื้อนทางกายภาพ มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่เจือปนเข้ามา เช่น มีเส้นผมปนเข้ามาในอาหาร เป็นต้น

อย่างเช่นการนำน้ำแข็งเก่ากลับมาใช้ใหม่รวมทั้งมีการใช้หลอดซ้ำ อาจมีโอกาสปนเปื้อนในอาหารทั้งทางจุลินทรีย์และทางกายภาพ

ทั้งนี้กับคำถามที่ว่าอันตรายจากการปนเปื้อนในอาหารนั้นอยู่ในระดับไหน

  • การใช้สารเคมี เช่น สารฟอร์มาลีน หรือสารดองศพที่หลายคนรู้จักกัน สารนี้อาจฟังดูน่ากลัว แต่ในขณะเดียวกันฟอร์มาลีนก็สามารถพบได้ตามธรรมชาติ อย่างเช่น ในเห็ดหอมที่พบว่ามีฟอร์มาลีนอยู่จำนวนไม่น้อย การทานครั้งแรกไม่ได้ทำให้ร่างกายแสดงอาการทันที หรือไม่ได้ส่งผลเฉียบพลัน แต่อันตรายจากการปนเปื้อนในอาหารทางเคมีจะมาจากการสะสมของสารพิษ ซึ่งจะส่งผลเสียในภายหลัง เช่น การทานอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์มากๆ อาจทำให้เกิดโรคไตวาย เป็นต้นวิธีหลีกเลี่ยงคืออย่าทานอาหารเดิมๆ ซ้ำซากจำเจ แต่ควรทานให้หลากหลาย จะช่วยลดการสะสมสารพิษได้
  • การปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ จะทำให้ร่างกายเกิดโรคอุจจาระร่วงได้ หรือโรคอื่นๆ ตามมา
  • การปนเปื้อนทางกายภาพ จัดว่าไม่น่ากลัว เพียงแต่จะได้ของแถมมาในอาหาร ซึ่งก็ถือว่าเป็นการทานที่ไม่ถูกสุขลักษณะเท่าที่ควร

 

ข้อมูลจาก
คุณจารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล
ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา Big story สารปนเปื้อนในอาหาร” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5