หลอดเลือดสมอง
หน้าแรก
หลอดเลือดสมองแตก โรคร้ายที่เกิดฉับพลัน
หลอดเลือดสมองแตก โรคร้ายที่เกิดฉับพลัน

โรคหลอดเลือดสมองแตกเป็นโรคที่มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่มาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่ภาวะการตีบ ตัน และแตกได้ในที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพราะอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ถือเป็นโรคร้ายอีกหนึ่งโรคที่ควรตระหนักโดยทั่วกัน ทั้งยังสามารถเกิดได้แบบฉับพลันโดยไม่ทันตั้งตัวอีกด้วย

ช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการเสื่อมของเส้นเลือดนำไปสู่การตีบ ตัน และแตกได้นั้นคือ

50 ปีขึ้นไป แต่ก็ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนเกิดโรคนี้ก่อนวัยอันควร และจากการสอบถามมักพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่จัด หรือเป็นโรคความดันสูงเรื้อรังและไม่ยอมรักษา เป็นต้น เป็นผลมาจากพฤติกรรมของตัวผู้ป่วยเอง หากรู้ตัวก่อนก็สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าโรคดังกล่าวสามารถพบได้ในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติของหลอดเลือดมาตั้งแต่กำเนิด

อาการของหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตกจะคล้ายๆ กัน

คือส่งผลให้ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งชาหรืออ่อนแรงขึ้นมาทันที โดยจะเกิดแบบฉับพลันไม่ทันได้ตั้งตัว เช่น ถือแก้วน้ำอยู่ดีๆ แก้วน้ำในมือก็หลุดร่วงลงไปเฉยๆ หรือผู้ป่วยบางรายก็หมดสติไปเลย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ยังปกติดีทุกอย่าง หากเกิดภาวะเส้นเลือดสมองแตกผู้ป่วยอาจปวดศีรษะรุนแรงมากจนถึงขั้นที่เรียกว่ามากที่สุดในชีวิต ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก

พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเป็นโรคอื่นอยู่ก่อน เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น รวมไปถึงการขาดการออกกำลังกาย ความเครียด ก็มีผลต่อการเกิดโรคเช่นกัน นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ก็มีความเสี่ยงทำให้เลือดที่ออกในสมองไม่ยอมหยุดด้วยตัวของมันเอง นำไปสู่การตีบ ตัน และแตกในที่สุด นอกจากนี้กรรมพันธุ์ก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

วิธีการป้องกันรักษา

คือให้สำรวจว่าตนเองมีความเสี่ยงหรือไม่ หากมีต้องดูแลในส่วนนั้นอย่างเคร่งครัด เช่น หากพบว่าตัวเองมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัดก็ต้องพยายามเลิกบุหรี่ หรือหากมีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อโรค ก็ควรดูแลโรคนั้นอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมไม่ให้ส่งผลข้างเคียงอื่นๆ รวมทั้งการทานอาหารยังจำเป็นต้องเลือกสรรแต่อาหารที่มีประโยชน์ เพราะปัจจุบันพบว่ามีอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอยู่อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง และควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการของหลอดเลือดสมองแตกควรรีบนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะการส่งแพทย์ได้เร็วย่อมรักษาได้ทันท่วงทีกว่าการส่งแพทย์ที่ล่าช้า สำหรับความรุนแรงของโรคคือส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ซีกใดซีกหนึ่งหรืออัมพาตทั้งตัว และรุนแรงที่สุดคือถึงขั้นเสียชีวิต

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ.เอก หังสสูต
สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ“เส้นเลือดในสมองแตก” : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8