วิตามินE
หน้าแรก
วิตามินอี ดีต่อสุขภาพและความงาม
วิตามินอี ดีต่อสุขภาพและความงาม

วิตามินอี เป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายในด้านสุขภาพ อีกทั้งยังมีประโยชน์ด้านความงาม และเพื่อการเสริมวิตามินอีที่ถูกต้องเหมาะสม จึงควรทำความเข้าใจให้มากขึ้น เกี่ยวกับความต้องการวิตามินอีในร่างกาย และการรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีที่เพียงพอ รวมถึงประโยชน์ของวิตามินอีในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ยา อาหาร และเครื่องสำอาง

รู้จักกับวิตามินอี

วิตามินอี เป็นหนึ่งในวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินอีเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ประโยชน์ของวิตามินอีคือป้องกันการแตกของเม็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเม็ดเลือด ต่อต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันการอักเสบ

รูปแบบของวิตามิน

มีความหลากหลายมาก อาทิ ยาน้ำ แคปซูลชนิดนิ่ม อาหารทางการแพทย์ นมทางการแพทย์ วิตามินรวมซึ่งมีวิตามินอีประกอบอยู่ด้วย ครีมทาผิว โลชั่นบำรุงผิว และอื่น ๆ นอกจากนี้วิตามินอียังมีอยู่ในอาหารธรรมชาติ โดยเฉพาะในผักและผลไม้

ความต้องการวิตามินอีของร่างกาย

  • ร่างกายคนทั่วไปต้องการวิตามินอีวันละ 10 IU
  • หากเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เป็นประจำ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดวิตามินอี
  • ในบางรายอาจต้องการวิตามินอีมากกว่าคนทั่วไป เช่น คนที่มีปัญหาการดูดซึมวิตามินอี เป็นต้น

วิตามินอีมีอยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง

วิตามินอี สามารถหาได้จากอาหารธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ไข่ พืช ผัก ผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว นอกจากนี้ยังมีอยู่ในน้ำมันที่มีส่วนผสมของถั่ว อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น

ประโยชน์ของวิตามินอี

  1. วิตามินอีในรูปแบบยา ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคขาดวิตามินอีในเด็ก ไปจนถึงโรคที่มีการนำวิตามินอีไปใช้นอกข้อบ่งใช้หลัก เช่น โรคปวดปลายประสาทจากการติดเชื้องูสวัด และโรคอัลไซเมอร์
  2. วิตามินอีในรูปแบบอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ใช้เป็นสารกันหืนในอาหาร และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย
  3. วิตามินอีในรูปแบบเครื่องสำอาง ใช้เป็นครีมบำรุงผิว เป็นสารกันหืน สารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ใช้ผสมในครีมกันแดด เนื่องจากวิตามินอีสามารถกรองรังสี UVB ได้

ข้อควรระวัง

หากมีโรคประจำตัวที่มียาทานประจำอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งว่าสามารถทานวิตามินอีเพื่อเป็นการเสริมอาหารได้หรือไม่ เพื่อตรวจสอบว่ายาที่รับประทานอยู่เดิมกับวิตามินอีนั้นมีอันตรกิริยาต่อกันหรือไม่ ทั้งนี้ยกตัวอย่างเช่น ยาบางกลุ่มอาจเกิด “ยาตีกัน” กับวิตามินอีได้ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านไวรัส ยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิเป็นต้น ซึ่งผลที่ตามมาอาจทำให้ยาที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล เกิดอาการเลือดออกผิดปกติ หรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ได้

บำรุงผิวด้วยวิตามินอีแบบกินและแบบทา

  • วิตามินอีแบบกินเริ่มบำรุงผิวหลังกินไป 7-10 วัน
  • วิตามินอีแบบทาทำปฏิกิริยากับผิวทันที แต่ซึมลงบนผิวหนังชั้นบนเท่านั้น ไม่ซึมเข้าสู่ผิวหนังชั้นลึก
  • สามารถบำรุงผิวด้วยวิตามินอีทั้งแบบกินและทาควบคู่กันได้

อาการของคนที่ขาดวิตามินอี

อาการที่สังเกตได้คือเรื่องประสาทการรับสัมผัส ผู้ที่ขาดวิตามินอีจะรู้สึกชา ส่วนอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการขาดวิตามินอี ได้แก่ ความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบเลือด ระบบสืบพันธุ์

อาการของคนที่ได้รับวิตามินอีมากเกินไป

โดยปกติร่างกายคนเราจะสามารถทนกับวิตามินอีได้ค่อนข้างสูง และจะได้รับผลข้างเคียงเมื่อรับวิตามินอีที่ 800 IU อาการแสดงคือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย มึนงง

การเก็บรักษาวิตามินอี

  • เก็บอาหารเสริมไว้ในภาชนะกันแสง หลีกเลี่ยงที่ร้อนชื้นและที่เย็นจัด หากนำไว้ในตู้เย็นใต้ช่องฟรีซจะทำให้เสื่อมเร็ว
  • วิตามินอีในผักผลไม้ หากนำไปปรุงสุกจะทำลายวิตามินอีให้เหลือน้อยลง รวมถึงการนำผลไม้ไปแช่แข็งก็เช่นกัน ทำให้วิตามินอีมีน้อยกว่าในผลไม้สด

 

ข้อมูลโดย
ภญ.ณัฐธิดา วรากุลปกรณ์ศิริ
เภสัชกรคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ไขข้อสงสัย “vitamin E กับการเสริมสุขภาพ” : Rama Square ช่วง สาระปันยา” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5