thrump
หน้าแรก
ลุ่มหลงในความสำเร็จและอำนาจของตัวเองเข้าข่ายอาการทางจิต

ลุ่มหลงในความสำเร็จและอำนาจของตัวเองเข้าข่ายอาการทางจิต

ว่าด้วยเรื่องอาการทางจิตที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างในเรื่องของความลุ่มหลงในความสำเร็จและอำนาจของตนเองก็เข้าข่ายที่น่าเป็นห่วงเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวชโรคหนึ่งที่เรียกว่า โรคหลงตัวเอง” ทำให้ไม่ยอมรับในคนอื่น แต่จะเชื่อมั่นในตนเองเท่านั้น พาลไปถึงการดูถูกดูแคลนผู้อื่น นำมาซึ่งความเกลียดชังและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในที่สุด

กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของอาการลุ่มหลงในตัวเอง

จากบุคคลหนึ่งที่มีบุคลิกเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสุดโต่ง ลุ่มหลงในความคิด ความสำเร็จ ความสามารถ อำนาจ รวมไปถึงเงินทองของตัวเอง เขาแทบไม่ยอมรับในตัวผู้อื่นเลย กระทั่งนำมาซึ่งการเหยียดสีผิว เหยียดเพศ เหยียดศาสนา และเหยียดเชื้อชาติ แม้ในวันที่เขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ก็ยังถูกขับไล่จากความเกลียดชังของสังคมที่ไม่ยอมรับในตัวเขา นั่นคือกรณีตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าโรคหลงตัวเองนั้น ทำให้เกิดผลเสียต่อการใช้ชีวิตในที่สุด

อาการของโรคหลงตัวเอง

ผู้ที่เป็นมักจะไม่ยอมรับในผู้อื่น และเชื่อมั่นแต่ตัวเอง เชื่อในความคิดของตัวเอง หมกมุ่นแต่กับตัวเอง ซึ่งเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพในกลุ่มของ Personality ทำให้ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ยาก มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ไม่ยอมรับในตัวผู้อื่นหรือความคิดของผู้อื่น และคิดว่าตัวเองดีอยู่คนเดียวหรือดีที่สุดเหนือคนอื่นทั้งหมด ต้องการคำชื่นชมเยินยอ และไม่ยอมรับความคิดเห็นเชิงลบที่เกี่ยวกับตัวเอง

คนกลุ่มนี้มักไม่มีความเห็นใจผู้อื่น ชอบหาผลประโยชน์จากผู้อื่นในทางลบ ชอบดูถูกดูแคลนผู้อื่น อีกทั้งยังชอบคิดว่าคนอื่นจะมาอิจฉาตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่ควรได้รับการรักษา

นอกจากนี้กลุ่มคนที่หลงใหลในรูปลักษณ์ของตนเองก็เช่นกัน อย่างในโลกโซเชียล ที่ปัจจุบันสังเกตได้โดยง่าย หากพบเห็นใครที่ชอบถ่ายรูปตัวเองลงโซเชียล ในอัตราความถี่สูง ถือว่าคนกลุ่มนั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลงตัวเองด้วยเช่นกัน

แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ชอบถ่ายภาพตนเองจะต้องเป็นโรคนี้ เพียงแค่มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปเท่านั้น แบ่งออกเป็นคนที่ชอบถ่ายภาพตนเองเก็บไว้กับคนที่ชอบถ่ายภาพตนเองแล้วโพสต์ลงโซเชียล โดยคนที่ชอบโพสต์ลงโซเชียล จะมีความเสี่ยงสูงกว่า รวมไปถึงพฤติกรรมการแต่งภาพก็เป็นส่วนสำคัญที่แสดงออกถึงแนวโน้ม เพราะคนกลุ่มนี้จะมีความกังวลในเรื่องของรูปลักษณ์ของตนเอง จึงต้องแต่งภาพให้ดูดีเสมอ ก่อนอัพลงโซเชียล

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคประมาณ 50% เกิดมาแล้วเป็นโรคนี้เลย และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผล ได้แก่

ครอบครัว เพื่อนฝูง โรงเรียน และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวทุกอย่างซึ่งหล่อหลอมให้กลายเป็นโรคหลงตัวเองได้เช่นกัน

วิธีการรักษา

คนกลุ่มนี้ต้องได้รับการบำบัดจิตในระยะยาว เพื่อเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนมุมมอง อาจมีการใช้ยาแล้วแต่กรณีไป ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาจากการเป็นโรคนี้คือทำให้เข้ากับคนอื่นได้ยาก ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมลำบากนำมาซึ่งความเครียด และอาจมีอาการซึมเศร้าได้ง่าย

 

ข้อมูลจาก
อ.พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา|Rama Update|โรคหลงตัวเอง” ได้ที่นี่

RAMA Channel

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งไทรอยด์มักไม่มีอาการในระยะแรก
มะเร็งไทรอยด์มักไม่มีอาการในระยะแรก แต่หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาได้ทันและมีโอกาสหายสูง รู้เท่าทันเพื่อดูแลตัวเองและคนที่คุณรัก
บทความสุขภาพ
03-06-2025

5

รู้ทัน ถุงน้ำในตับอ่อน เสี่ยงทุกวัย ไม่เลือกเพศ
ถุงน้ำในตับอ่อนเป็นโรคเงียบที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย อาจไม่มีอาการแต่เสี่ยงกลายเป็นมะเร็ง รู้ทันเพื่อวางแผนตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที
บทความสุขภาพ
29-05-2025

13

แพทย์เตือน ! ห้าม ล้างไก่สด ก่อนปรุง
การล้างไก่สดก่อนปรุงอาจกระจายเชื้อแบคทีเรียอย่างแคมไพโลแบคเตอร์ไปยังอ่างล้างจานและเครื่องครัว เสี่ยงปนเปื้อนอาหารและทำให้เกิดโรคท้องร่วง
บทความสุขภาพ
28-05-2025

18

โรคพยาธิในช่องคลอด-ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในร่างกายผู้หญิง
โรคพยาธิในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว มักมีอาการตกขาวมีกลิ่น คัน แสบ หากไม่รักษาอาจลุกลามและส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
25-05-2025

16

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL